หน้าเว็บ

หน่วยที่ 2 มาตรฐานอาชีพ

 

มาตรฐานอาชีพ

          ความหมายของมาตรฐานอาชีพ

          ตามความหมายของมาตรฐานอาชีพ (Occupation Standard) ฝีมือแรงงานแห่งชาติ (กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน 2556 : 1) มาตรฐานอาชีพ คือ ข้อกำหนดทางวิชาการที่ใช้เป็นเกณฑ์วัดระดับความรู้ความสามารถและทัศนคติ ในการทำงานของผู้ประกอบอาชีพในสาขาต่างๆ มาตรฐานอาชีพ ตามแนวคิดของฉัตรชาญ ทองจับ (2553 : 36) กล่าวว่า เป็นการกำหนดมาตรฐานของสมรรถนะ รวมทั้งความรู้และความเข้าใจที่คาดหวังว่าบุคลากรจะบรรลุสำหรับอาชีพหนึ่ง มาตรฐานอาชีพนี้ใช้เป็นฐานในการกำหนดและประเมินเพื่อให้ได้คุณวุฒิวิชาชีพ (Vocation Qualification = VQ)
         สรุปแล้ว มาตรฐานอาชีพ หมายถึงข้อกำหนดที่เป็นเกณฑ์เกี่ยว ความรู้ความสามารถและทัศนคติที่คน สามารถใช้ในการทำงานในอาชีพต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ


           องค์ประกอบสำคัญของมาตรฐานอาชีพ

      มาตรฐานอาชีพมีองค์ประกอบที่สำคัญ 3 ส่วนดังนี้
1. ความรู้(Knowledge)
        ความรู้เป็นสิ่งจำเป็นที่จะใช้งานนั้นๆ ได้ถูกต้องตามหลักวิชาการหรือหลักทฤษฎีในอาชีพต่างๆ
2. ทักษะ (Skill)
       ทักษะเป็นการสะสมประสบการณ์จนเกิดความชำนาญ มีความสามารถเพียงพอที่จำทำงานได้อย่างมีคุณภาพ ตามข้อกำหนดและแล้วเสร็จ เช่น ทักษะอาชีพช่างไฟฟ้าภายนอกอาคารสามารถติดตั้งซ่อมแซม แก้ปัญหาเกี่ยวกับระบบไฟฟ้านอกอาคารได้ทุกวิธี โดยถูกต้องและปลอดภัย เป็นต้น



รูปที่ 2.1 อาชีพช่างไฟฟ้าที่ใช้ทักษะในการทำงาน

3. ทัศนคติ(Attitude)
           มีจิตสำนึกในการทำงานที่ดี ซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับนิสัยในการประกอบอาชีพ เช่น การตรงต่อเวลา การรักษาวินัยมีความซื่อสัตย์ ประหยัด และวิเคราะห์วางแผน แก้ไขปัญหาในการทำงาน โดยคำนึงถึงประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการทำงาน ซึ่งทัศนคตินี้มีความสำคัญมากในการประกอบอาชีพ ทุกอย่างในยุคสมัยใหม่ ที่เจริญก้าวหน้าด้วยเทคโนโลยี

         ประเภทมาตรฐานอาชีพ
        กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน โดยกองมาตรฐานฝีมือแรงงานได้แบ่งประเภทมาตรฐานอาชีพออกเป็น 4 ประเภท ดังนี้
1. มาตรฐานอาชีพเฉพาะ
        มาตรฐานอาชีพเฉพาะเป็นมาตรฐานที่กำหนดขึ้นเพื่อรับรองฝีมือแรงงาน ซึ่งมีวัตถุประสงค์เฉพาะ เช่น
       1. เพื่อคนหางานที่ต้องการไปทำงานต่างประเทศ
       2. ตามความต้องการของสถานประกอบการที่ออกให้
       3. ตามความต้องการของแรงงานจังหวัด
2. มาตรฐานอาชีพแห่งชาติ 
       เป็นมาตรฐานที่ทำการร่างโดยผู้เชี่ยวชาญแต่ละสาขาอาชีะและคณะกรรมการส่งเสริมอาชีพให้การอนุมัติ โดยมีการจัดทำและปรับปรุงเพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงานและการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีสมัยใหม่
3. มาตรฐานอาชีพของอาเซียน
       เป็นมาตรฐานที่จำเป็นที่จะต้องร่วมมือกันจัดทำขึ้น จากประเทศสมาชิกอาเซียนทั้ง 10 ประเทศ เนื่องจากนับตั้งแต่ปี 2558 เป็นต้นไป จะมีการเคลื่อนย้ายแรงงาน หรือประกอบอาชีพต่างๆ ในกลุ่มอาเซียนอย่างเสรี

4. มาตรฐานอาชีพนานาชาติ


รูปที่ 2.2 การทดสอบมาตรฐานอาชีพ

            ประโยชน์ของมาตรฐานอาชีพ
1. ประโยชน์ต่อภาคเอกชน/สถานประกอบการ
         มาตรฐานอาชีพมีประโยชน์ต่อภาคเอกชนหรือสถานประกอบการ ดังนี้
     1. ได้บุคคลที่มีความรู้ ความสามารถ ทักษะฝีมือ และทัศนคติที่ดีต่อการทำงาน
     2. ได้รับความร่วมมือในการพัฒนาอาชีพร่วมกันระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน
     3. สถานประกอบการได้รับผู้เข้าทำงานที่มีฝีมือตามมาตรฐาน
     4. ลดปัญหาหรือลดความเสียหายในกระบานการผลิต
     5. มีการประหยัดและได้รับผลผลิตเพิ่ม
     6. ได้สินค้าและบริการที่มีคุณภาพและแข่งขันได้


รูปที่ 2.3 มาตรฐานโรงงานอุตสาหกรรม

2. ประโยชน์ต่อรัฐบาล
 
    1. ใช้ในการจัดระดับกำลังแรงงานของชาติ
      2. ใช้เป็นแนวทางในการประกอบการพิจารณาจำดทำสูตรฝึกอบรมแรงงาน
      3. พัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ ให้สามารถแข่งขันในระดับนาๆชาติได้
      4. ประเทศมีฝีมือเพิ่มขึ้น สอดคล้องกับทิศทางและความต้องการของธุรกิจ
      5. ประชาชนมีทัศนคติที่ดีต่อรัฐบาลเนื่องจากได้รับความคุ้มครองที่ดีจากภาครัฐ

3. ประโยชน์ต่อประชาชน
    1. ประชาชนได้รับสินค้าและบริการที่พึงพอใจ
    2. ประชาชนได้ใช้สินค้าที่มีคุณภาพดี ทนทาน ปลอดภัย
    3. ประชาชนลดความสูญเสียค่าใช้จ่ายจากสินค้าที่ไม่มีคุณภาพ
    4. ประชาชนเกิดความปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพย์สิน


           ระดับของมาตรฐานอาชีพ
           เป็นการจำแนกมาตรฐานอาชีพ ตามความสามารถ และความชำนาญในการปฏิบัติงาน ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ระดับ คือ
1. ระดับ 1
     เป็นมาตรฐานระดับกึ่งฝีมือ หมายถึง ผู้ที่มีฝีมือและความรู้พื้นฐานในการปฏิบัติงานที่ต้องมีหัวหน้าช่วยให้คำแนะนำหรือช่วยตัดสินใจเรื่องสำคัญเมื่อจำเป็น
2. ระดับ 2
     เป็นมาตรฐานระดับฝีมือ หมายถึง ผู้ที่มีฝีมือระดับกลาง มีความรู้ ความสามารถ ใช้เครื่องมืออุปกรณ์ได้ดี และมีประสบการณ์ในการทำงาน สามารถให้คำแนำนำผู้ใต้บังคับบัญชาได้
3. ระดับ 3
     เป็นมาตรฐานระดับเทคนิค หมายถึง ผู้ที่มีฝีมือระดับสูง สามารถวิเคราะห์ วินิจฉัยปํหา รู้ขั้นตอนกระบสนการของงานอย่างดี สามารถช่วยแนะนำงานฝีมือแก่ผู้ใต้บังคับบัญชาได้ดี สามารถใช้หนังสือคู่มืิิอ นำความรู้และความสามารถมาประยุกต์ใช้กับเทคโนโลยีใหม่ได้


        รูปที่ 2.4 ระดับช่างเทคนิคในสาขาต่างๆ


มาตรฐานอาชีพของสาขาอาชีพต่างๆ
         อำศัยอำนาจตามความในมาตร 22 วรรคหนึ่งแห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงาน พ.ศ. 2545 คณะกรรมการส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน จึงก าหนดมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติจำนวน 91 สาขาอาชีพ โดยดูรายละเอียดได้ที่ http ://nome.dsd.go.th/standard
1. มาตรฐานอาชีพ สาขาอาชีพช่างไฟฟ้าภายนอกอาคาร แบ่งเป็น 3 ระดับ ได้แก่
       
1. ระดับ 1 หมายถึง ผู้ที่มีความรู้ช่างซึ่งประกอบอาชีพในงานติดตั้งอุปกรณ์ประกอบเสาไฟฟ้าและการตั้งเสาไฟฟ้า
       
2. ระดับ 2 หมายถึง ช่างซึ่งประกอบอาชีพในงานติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าและและภายนอกอาคารและแก้ปัญหา
       
3. ระดับ 3 หมายถึง ช่างซึ่งประกอบอาชีพในงานติดตั้งอุปกรณ์ไฟ้ฟ้าตรวจสอบระบบไฟฟ้าภายนอกอาคาร
2. มาตรฐานอาชีพ
สาขาซ่อมรถยนต์ แบ่งเป็น 3 ระดับ ได้แก่
       
1. ระดับ 1 หมายถึง ช่างที่มีความ ความสามสรถการตัดสินใจปานกลาง ทำหน้าที่ถอดประกอบ ปฎิบัติงานตามคำสั่งของหัวหน้างาน
     
 2. ระดับ 2 หมายถึง ช่างที่มีความ สามารถตรวจวิเคราะห์หาสาเหตุข้อข้ดข้องเบื้องต้นกำหนดงานซ่อมบำรุงและปฎิบัติการซ่องบำรุงตามอาการที่เกิดขึ้น
     
 3. ระดับ 3 หมายถึง ช่างที่มีความรู้ ความสามารถ มีความชำนาญในการตรวจวิเคราะห์หาสาเหตุข้อข้ดข้างของระบบงานที่ซ้บซ้อน กำหนดงานซ่อมบำรุงและปฎิบัติงานซ่อมบำบุงที่ยาก แล้วซับซ้อนได้



รูปที่ 2.5 ช่างซ่อมรถยนต์


3. มาตรฐานอาชีพ สาขาอาชีพนักเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ (ภาษา) แบ่งเป็น 2 ระดับ
       
1. ระดับ 1 หมายถึง ผู้ที่มีฝีมือ ความรู้ ความสามารถในการเขียนโปรแกรมพื้นฐานเบื้องต้นเข้าใจหลักการเขียนโปรแกรม เข้าใจแนวทางแก้ไขปัญหา เข้าใจการเขียนแังงาน (Flow Chart) สามารถกำหนดขั้นตอนการทำงานเพื่อแก้ไขปัญหา (Algorithm)สามารถเขียนโปรแกรมเพื่อประยุกต์ใช้งานอย่างสมบูรณ์ตามมาตรฐานที่กำหนด
       
2. ระดับ 2 หมายถึง ผู้ที่มีฝีมือ ความรู้ ความสามารถในการเขียนโปรแกรมขั้นสูง (Advanced) เพื่อประยุกต์ใช่สำหรับงานต่างๆ ได้ มีความเชียวชาญในการใช่เครื่องมือ (Tool)ของแต่ละภาษาคอมพิวเตอร์ในการเขียนโปรแกรม สามารถแก้ไขโปรแกรมตรวจสอบข้อผิดพลาดในการงานโปรแกรม (Debuggig) ได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถวิเคราะห์ออกแบบงานเพื่อเขียนโปรแกรมสามารถติดตั้งโปรแกรมที่เขียนเพื่อใช่งานได้อย่างสมบูรณ์ ตามมาตรฐานที่กำหนด
4. มาตรฐานอาชีพ สาขาช่างจัดดอกไม้ แบ่งเป็น 3 ระดับ ได้แก่
     
1. ระดับ 1 หมายถึง ผู้ที่มีความรู้เบื่องต้นในการจัดดอกไม้ วัสดุอุปกรณ์ การเลือกซื้อและการดูแลรักษา รวมถึงการจัดในรูปแบบทรงต่างๆ
     
2. ระดับ 2 หมายถึง ผู้ที่มีฝีมือในระดับมืออาชีพ สามารถนำความรู้ในเรื่องขององค์ประกอบศิลป์มาใช้ในการดัดแปลงวัสดุ อุปกรณ์ การนำเทคนิคต่างๆมาประยุกต์ใช้ในการจัดดอกไม้แบบสากล
     
3. ระดับ 3 หมายถึง ผู้ที่มีฝีมือในการออกแบบด้านการจัดดอกไม้แบบสากล แบบร่วมสมัยในโอกาสต่างๆ วางแผนปฏิบัตงานและนำเสนอชิ้นงาน มีความคิดริเริ่มสร้าวสรรค์ และแก้ไขปัญหาต่างๆ


รูปที่ 2.6 อาชีพการจัดดอกไม้
   
5. มาตรฐานอาชีพ สาขาอาชีพการดูแลผู้สูงอายุ มี 1 ระดับ คือ
           
ระดับ 1 หมายถึง บุคคลมีความรู้ ความสามารถ ทักษะ และมีคุณธรรมในการทำหน้าที่ช่วยเหลือครอบครัวผู้สูงอายุ ดูอลรับผิดชอบผู้สูงอายุได้อย่างถูกต้อง แบบปลอดภัย เพื่อให้ผู้สูงอายุมีความเป็นอยู่และคุณภาพชีวิตที่ดี
6. มาตรฐานอาชีพ สาขาอาชีพพนักงานนวดไทย แบ่งออกได้ 3 ระดับ ประกอบด้วย
         
1. ระดับ 1 หมายถึง ผู้ที่มีความรู้ ความสามารถในการนวดไทยเพื่อผ่อนคลาย และรู้ข้อห้ามและข้อควรระวังในการนวด พร้อมทั้งมีสุขภาพร่างกายและจิตใจไม่ขัดต่อจรรยาบรรณ จริยธรรมในการประกอบอาชีพการนวดไทย
       
2. ระดับ 2 หมายถึง ผู้ที่มีความรู้ ความสามารถมนการนวดไทยเพื่อผ่อนคลาย บรรเทาอาการปวดเมื่อยทั่วไปได้อย่างน้อย 10 อาการ และรู้ข้อต้องห้ามและข้อควรระวังในการนวด พร้อมทั้งมีสุขภาพร่างกาย และจิตใจไม่ขัดต่อจรรยาบรรณ จริยธรรมในการประกอบอาชีพ
     
  3. ระดับ 3 หมายถึง ผู้ที่มีความรู้ ความสามารถในการนวดไทยเพื่อผ่อนคลาย บรรเทาอาการปวดเมื่อยทั่วไป สามารถวินิจฉัย บำบัดโรคตามทฤษฎีการแพทย์แผนไทย และรู้ข้อห้าม ข้อควรระวังในการนวด พร้อมทั้งมีสุขภาพร่างกายและจิตใจไม่ขัดต่อจรรยาบรรณ จริยธรรมในการประกอบอาชีพการแพทย์แผนไทย และมีใบประกอบโรคศิลปะ

ทักษะตามมาตรฐานอาชีพ
         ทักษะ (Skill) แสดงถึงความสามารถประกอบด้วย ขอบเขตตามสภาพในการปฏิบัติงาน เป็นการสะสมประสบการณ์จนเกิดความชำนาญ มีความสามารถเพียงพอที่จะทำงานได้อย่างมีคุณภาพตามตามข้อกำหนดและแล้วเสร็จ ซึ่งเป็นทักษะตามมาตรฐานอาชีพต่างๆ มีความแตกต่างกันและคณะกรรมการส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงานได้กำหนดไว้ จำนวน 91 สาขาอาชีพ ตัวอย่างเช่น

         1. ทักษะอาชีพช่างไฟฟ้าภายนอกอาคาร มีทักษะ 3 ระดับ ได้แก่                
           1. ระดับ 1 ความสามารถในการปฏิบัติงานการเดินสายและต่อสายไฟฟ้า ได้ดังนี้
                 1. ตู้ควบคุม
                 2. ต่อสายได้ทุกวิธี โดยถูกต้องและปลอดภัย
                 3. พันฉนวนหุ้มบริเวณจุดต่อสายแบบต่างๆได้ถูกวิธี
                 4. การติดตั้งอุปกรณ์
                 5. สายไฟฟ้าหุ้มฉนวนขนาดใหญ่
           
           2. ระดับ 2 ความสามารถในการปฏิบัติงาน ดังนี้
              ติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าและเครื่องมือวัดในโรงงานอุตสาหกรรม ดังนี้
               ก. ระบบอินเพุทและเอาท์พุท (I/O System)
               ข. ระบบควบคุมสายดินและอุปกรณ์ติดตั้ง
               ค. มอเตอร์ไฟฟ้าควบคุมการขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้า
               ง. มอเตอร์ไฟฟ้าควบคุมโดยโปรแกรมเมเบิล
               จ. ระบบเครื่องกลอัตโนมัติและการควบคุม

                     
การอ่านแบบและเขียนแบบ ดังนี้
               ก. วงจรการเดินสายไฟฟ้า
               ข. สัญลักาณ์ทางไฟฟ้่แบบต่างๆ
               ค. การต่อสายและการเลือกใช้สายไฟฟ้า
               ง. การตรวจอุกปรณ์ระบบควบคุม

               
         3. ระดับ 2 ความสามาในการปฎิบัติงาน ดังนี้
             ติดตั้งอุกปรณ์ควบคุม ได้แก่
               ก. โปรแกรทควบคุบ
               ข.สายดินสำหรับการควบคุม
               ค. เครื่องมือวัด

       
การจัดการตรวจสอบแก้ไขและซ่อมบำรุงอุปกรณ์ควบคุม
 การคำนวณและการออกแบบ ได้แก่
              ก. สายไฟฟ้า
              ข. การลัดวงจร
              ค. สายดิน
              ง. ประเมินราคา

       2. ทักษะอาชีกกานดูแลผู้สูงอายุ ซึ่งมีมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ ระดับ 1 เท่านั้น                  
          ระดับ 1 ความสามารถในการปฎิบัติงาน ดังนี้
            1. การดูแลความสะอาดและอนามัยสิ่งแวดล้อม
                 ก. การอาบน้ำ สระผม และดูแลความสะอาดส่วนต่างๆของร่างกาย
                 ข. การเช็ดตัวบนเตียง
                 ค. การเลือกใช้ผลิตภัณฑ์รักษาผิวหนัง
                 ง. การทำความสะอาดช่องปาก ฟัน หู ตา และจมูก
                 จ. แต่งตัวและสวมเสื้อผ้า
                 ฉ. การปูเตียง จัดเครื่องนอน
                 ช. การจัดสิ่งแวดล้อมให้ปลอดภัยเพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุ

          2. การปฐมพยาบาล ได้แก่
                ก. การเช็ดตัวลดไข้
                ข. การวัดปรอท วัดความดันโลหิต นับชีพจร

         3. การให้อาหาร น้ำ ตามคำสั่งแพทย์ ได้แก่
               ก. การป้อนอาหารทางปากให้ผู้ป่วยที่กลืนลำบาก
               ข. การป้อนอาหารทางสายสวนกระเพาะอาหาร
               ค. แนวทางการปฏิบัติเมื่อเกิดอาการสำลัก

         4. การขับถ่าย ได้แก่
              ก. ช่วยเหลือผู้สูงอายุในการปัสสาวะและอุจจาระ
              ข. การชำระร่างกายหลังการขับถ่าย

         5. การเคลื่อนไหวและเคลื่อนย้ายผู้สูงอายุ ได้แก่ การพลิกตัวบนเตียง ลุกนั่ง ลุกยืน ลุกเดิน และการใช้อุปกรณ์ช่วยเหลือ
        6. ยา ได้แก่
              ก. การดูลักษณะยาที่เสียหรือเสื่อมสภาพ
              ข. การจัดเตรียมยา การให้ยาผู้สูงอายุตามคำสั่งแพทย์


     รูปที่ 2.7 การดูแลผู้สูงอายุ

        3. ทักษะอาชีพนักเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ (ภาษาซี) มี 2 ระดับ ได้แก่
1. ระดับ 1
ความสามารถในการปฏิบัติงาน ดังนี้
       1. การใช้โปรแกรมจัดการเกี่ยวกับแฟ้มข้อมูล
       2. การใช้โปรแกรมจัดการเกี่ยวกับฐานข้อมูล
       3. การเขียนโปรแกรม

2. ระดับ 2 ความสามารถในการปฏิบัติงาน ดังนี้
      1. การเขียนโปรแกรมเรียกใช้ตัวเอง
      2. การประยุกต์เขียนโปรแกรมตามลักษณะงานที่กำหนด
      3. การเขียนคำสั่งเพื่อทำงานร่วมกับโปรแกรมอื่นๆ
      4. การประยุกต์ใช้คำสั่งสร้างผลงานในด้านต่างๆ
      5. การสร้างชุดคำสั่งใหม่
      6. การสร้าง Data Link Library (DLL) หรือ Unit



รูปที่ 2.8 นักเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์

เครื่องหมายมาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับอาชีพ
        เครื่องหมายมาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับอาชีพที่แสดงว่าสินค้าที่อาชีพต่างๆ ผลิตขึ้นอย่างมีคุณภาพ หรือความปลอดภัยในการอุปโภค และมีประสิทธิภาพในการใช้งาน มีคุณภาพสมราคา มีหลายอย่าง ดังนี้
1. เครื่องหมายมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
        สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) กระทรวงอุตสาหกรรม เป็นองค์กรที่ให้การรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.) ว่ามีคุณภาพได้มารฐานตามที่กำหนดมีความปลอดภัยในการอุปโภค บริโภค มีประสิทธิภาพในการใช้งาน และมีคุณภาพสมราคา ปัจจุบัน สมอ. รับรองรับรองเครื่องหมายไว้ 3 ประเภทคือ
      1. เครื่องหมายมาตรฐานทั่วไป

                สำหรับผลิตภัณฑ์อุปโภคบริโภค ผู้ผลิตสามารถยื่นขอการรับรองด้วยความสมัครใจเพื่อพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์ให้เป็นไปตามเกณฑ์กำหนดมาตรฐาน



รูปที่ 2.9 เครื่องหมายมาตรฐานทั่วไป

       2. เครื่องหมายมาตรฐานบังคับ
                เป็นเครื่องหมายผลิตภัณฑ์ที่กฎหมายกำหนดให้ผู้ผลิตต้องทำตามมาตรฐาน และต้องแสดงเครื่องหมายผลิตภัณฑ์ เพื่อความปลอดภัยต่อผู้บริโภค




รูปที่ 2.10 เครื่องหมายมาตรฐานบังคับ

       3. เครื่องหมายมาตรฐานเฉพาะด้านความปลอดภัย
                เป็นเครื่องหมายรับรองผลิตภัณฑ์ที่ต้องมีความปลอดภัยในการใช้งาน ซึ่งสำนักงานฯ จะกำหนดมาตรฐานโดยเน้นเฉพาะเรื่องความปลอดภัยเป็นสำคัญเพื่อให้การคุ้มครองแก่ ผู้บริโภคด้านความปลอดภัยในการใช้งาน เช่น เตารีด พัดลมไฟฟ้า เป็นต้น เครื่องหมายที่มีทั้งแบบบังคม และไม่บังคับ หากเป็นแบบ บังคับก็ต้องปฏิบัติตามกฎหมายที่ต้องทำผลิตภัณฑ์ให้ได้ตาม มาตรฐานที่ กำหนดทั้งผู้ทำ ผู้นำเข้า และผู้จำหน่าย


รูปที่ 2.11 เครื่องหมายมาตรฐานเฉพาะด้านความปลอดภัย

       4. เครื่องหมายมาตรฐานเฉพาะด้านความเข้ากันได้ทางแม่เหล็กไฟฟ้า
                 เป็นเครื่องหมายรับรองผลิต ภัณฑ์ที่มีคุณสมบัติของความเข้ากันได้ทางแม่เหล็กไฟฟ้า ซึ่งเป็น ผลิตภัณฑ์ที่สามารถทำงานร่วมกับผลิตภัณฑ์อื่นหรือใช้พร้อมกันได้และไม่ส่งคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าได้ในระดับหนึ่ง ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ เทคโนโลยีสารสนเทศ เช่น โทรศัพท์ โทรสาร เครื่องรับ-ส่งวิทยุและเครื่องมือทางการแพทย์ เป็นต้นเครื่องหมายนี้มีทั้งแบบบังคับ และไม่บังคับหากเป็นมาตรฐานบังคับ ผู้ผลิต ผู้นำเข้า และผู้ จำหน่ายจะต้องผลิตนำเข้า และจำหน่ายแต่ผลิตภัณฑ์ที่ได้ มาตรฐานเท่านั้น


รูปที่ 2.12 เครื่องหมายมาตรฐานเฉพาะด้านความเข้ากันได้ทางแม่เหล็กไฟฟ้า

        5. เครื่องหมายการรับรองฉลากเขียว (Green Label)
            สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ร่วมกับสถาบันสิ่งแวดล้อมไทยดำเนินโครงการฉลากเขียวเพื่อให้การรับรอง โดยใช้ฉลากเขียว สำหรับผลิตภัณฑ์ ทั้งนี้เพื่อช่วยลดมลภาวะจากสิ่งแวดล้อม และเพื่อผลักดันให้ผู้ผลิตใช้เทคโนโลยีหรือวิธีการผลิตที่ให้ผลกระทบต่อวสิ่งแวดล้อม



รูปที่ 2.13 เครื่องหมายการรับรองฉลากเขียว




6. เครื่องหมายมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.)


รูปที่ 2.14 เครื่องหมายมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน

2. เครื่องหมายมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหาร หรือ Q
          สืบเนื่องจาก คณะกรรมการมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ ได้มีมติในการประชุม ครั้งที่ ๓ - ๒๕๔๖ วันที่ ๒๙ กรกฎาคม ๒๕๔๖ ให้หน่วยงานในกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ใช้เครื่องหมายรับรองมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารให้เป็นเครื่องหมายเดียวกัน คือ เครื่องหมาย "Q" เพื่อลดความซ้ำซ้อนในการใช้เครื่องหมายของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ซึ่งเครื่องหมายนี้แสดงให้เห็นว่าสินค้าเกษตรและอาหารมีคุณภาพและความ ปลอดภัยพร้อมทั้งยังสื่อไปถึงผู้บริโภคภายในประเทศและประเทศคู่ค้าให้เกิด ความเชื่อมั่นในระบบการผลิตและผลิตภัณฑ์สินค้าเกษตรและอาหารให้เป็นไปตาม มาตรฐานและเป็นที่ยอมรับของนานาประเทศ
          หน่วยงานในกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้มีการจัดทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) เรื่อง การใช้เครื่องหมายรับรองมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหาร โดยมีการลงนามวันที่ ๒๖ กันยายน ๒๕๔๖ ร่วมกัน ๘ หน่วยงาน ได้แก่ กรมวิชาการเกษตร กรมประมง กรมปศุสัตว์ กรมส่งเสริมการเกษตร กรมส่งเสริมสหกรณ์ กรมพัฒนาที่ดิน องค์การตลาดเพื่อเกษตรกร และสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ เพื่อเป็นข้อผูกพันให้มีการนำเครื่องหมายรับรอง "Q" ไปใช้ในแนวทางเดียวกัน และมีการดำเนินการตามวิธีการและแนวทางที่กำหนดไว้ใน MOU โดยหน่วยรับรองให้การรับรอง ตั้งแต่ระดับไร่นาจนถึงผู้บริโภค (From Farm To Table) เพื่อให้ผู้บริโภคได้รับสินค้าที่มีคุณภาพและมีความปลอดภัย รวมถึงเป็นการส่งเสริมให้เป็นผู้ผลิต ผู้ประกอบการสินค้าเกษตรและอาหารของไทย ได้ตระหนักถึงคุณค่าความสำคัญของเครื่องหมายรับรอง "Q" ที่แสดงถึงความมีคุณภาพและปลอดภัย ดังนั้นจำเป็นต้องมีระบบการควบคุมกำกับดูแลการนำเครื่องหมายรับรอง "Q" ไปใช้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ นอกจากนั้นยังมีระบบการจัดรหัสประกอบการแสดงเครื่องหมาย เพื่อให้สามารถตรวจสอบย้อนกลับได้กรณีที่มีการปลอมแปลงเอกสารใบรับรองหรือ กรณีตรวจพบสินค้ามีปัญหาด้านคุณภาพที่ไม่เป็นไปตามมาตรฐาน



รูปที่ 2.15 เครื่องหมาย Q


3. เครื่องหมาย อย.
           อย. คือ อักษรย่อของ “สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา” (Food and Drug Administration)เป็นส่วนราชการในระดับกรม ของประเทศไทย สังกัดกระทรวงสาธารณสุข มีหน้าที่ในการดําเนินงานด้านการคุ้มครองผู้บริโภค ปกป้องและคุ้มครองสุขภาพประชาชนจากการบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพ (ซึ่งผลิตภัณฑ์สุขภาพ ส่วนใหญ่มักจะหมายถึง อาหาร ยา เวชภัณฑ์ และเครื่องสำอางค์)โดยผลิตภัณฑ์สุขภาพเหล่านั้นต้องมีคุณภาพมาตรฐานและปลอดภัย มีการส่งเสริมพฤติกรรมการบริโภคที่ถูกต้องด้วยข้อมูลวิชาการที่มีหลักฐาน เชื่อถือได้และมีความเหมาะสม เพื่อให้ประชาชนได้บริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพทีปลอดภัยและสมประโยชน์เครื่องหมาย อย. ที่อยู่บนฉลากผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูปนั้น ไม่ใช่ว่าจะได้มาง่ายๆ อาหารที่จะได้รับ อย. นั้น ส่วนใหญ่ต้องผ่านขั้นตอนการตรวจสอบความเหมาะสมของสถานที่ตั้งและอาคารผลิต เครื่องมือ เครื่องจักร และอุปกรณ์ในการผลิตการควบคุมกระบวนการผลิตการสุขาภิบาลโรงงานการบำรุงรักษาและทำความสะอาด และบุคลากรการผลิต นั่นคือ เป็นไปตามเกณฑ์วิธีการที่ดีในการผลิตอาหาร หรือ จี.ดี.พี. (Good Manufacturing Practice) นั่นเอง นอกจากนั้น ต้องผ่านในเรื่องของคุณภาพมาตรฐานของผลิตภัณฑ์ ภาชนะบรรจุและการแสดงข้อมูลบนฉลากว่าครบถ้วนไม่โอ้อวด หลอกลวง หรือทำให้เข้าใจผิด อาหารนั้น จึงจะได้รับเครื่องหมาย อย. เป็นสัญลักษณ์ให้กับผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูป ที่มีภาชนะบรรจุสนิท รับผิดชอบโดย สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข




รูปที่ 2.16 เครื่องหมาย อย. 

4. เครื่องหมายอาหารปลอดภัย (Food Safely)
            กระทรวงสาธารณสุขเป็นองค์กรที่ให้การรับรองเครื่องหมายสุขภาพดีเริ่มที่อาหารปลอดภัย โดยเป็นสัญลักษณ์ให้กับร้านค้า แผงจำหน่ายอาหารสด ตลาดสด และซูเปอร์มาร์เก็ต เพื่อรับรองคุณภาพอาหาร ได้แก่ อาหารสด อาหารแปรรูป อาหารปรุงจำหน่าย พร้อมตรวจสอบสารเคมีปนเปื้อนที่เป็นอันตรายกับสุขภาพ เช่น บอร์แรกซ์ สารพิษตกค้างจากสารเคมี สารฟอกขาว สารเร่งเนื้อแดง เป็นต้น

รูปที่ 2.17 เครื่องหมายอาหารปลอดภัย (Food Safely)

สรุปสาระสำคัญ
        มาตรฐานอาชีพ หมายถึง ข้อกำหนดที่เป็นเกณฑ์เกี่ยวกับความรู้ ความสามารถ และทัศนคติที่คนสามารถใช้ในการทำงานอาชีพต่างๆได้ มีองค์ประกอบที่สำคัญ 3 ส่วน ได้แก่ ความรู้ ทักษะ ทัศนคติ นอกจากนี้ มาตรฐานอาชีพ แบ่งเป็น 4 ประเภท คือ มาตรฐานอาชีพเฉพาะ มาตรฐานอาชีพแห่งชาติ มาตรฐานอาชีพของอาเซียน และมาตรฐานอาชีพนาๆชาติ โดยมีประโยชน์ทั้งต่อภาคเอกชน/สถานประกอบการ ต่อภาครัฐ รวมถึงประชาชน อย่างไรก็ตามมาตรฐานอาชีพมี 3 ระดับ คือ ระดับ1 ระดับ 2 และสูงสุดคือ ระดับ 3 ซึ่งแต่ละระดับจะมีการกำหนดอัตราค่าจ้างตามมาตรฐานแตกต่างกัน









     

ไม่มีความคิดเห็น: