หน้าเว็บ

หน่วยที่ 4 องค์การ



          ความหมายขององค์การ

มีนักวิชาการได้ให้ความหมายขององค์การไว้ ดังนี้
        แมกซ์ เวเบอร์ (Max Weber) กล่าวว่า องค์การ หมายถึง หน่วยสังคมหรือหน่วยงานซึ่งมีกลุ่มบุคคลกลุ่มหนึ่งร่วมมือกันดำเนินกิจกรรมต่างๆ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายอย่างใดอย่างหนึ่ง
        เชสเตอร์ บาร์นาร์ด กล่าวว่า องค์การ หมายถึง ความร่วมมือกันระหว่างบุคคลหลายคนซึ่งมีความตั้งใจจริงที่จะร่วมกันดำเนินกิจกรรมให้บรรลุวัตถุประสงค์
       แทลคอตต์ พาร์สัน กล่าวว่า องค์การ หมายถึง บรรดาระบบประสานสัมพันธ์ร่วมมือกันทำงานทุกชีวิตของมนุษย์
      เอมิไท เอตชิโอนิ (Amitai Etzioni) กล่าวว่า องค์การ หมายถึง สังคมหรือหน่วยคนที่ตั้งขึ้นอย่างจงใจ เพื่อทำงานให้บรรลุเป้าหมายที่แน่นอนอย่างใดอย่างหนึ่ง
      ธงชัย สันติวงษ์ กล่าวว่า องค์การคือการจัดระเบียบกิจกรรมให้เป็นกลุ่มก้อนเข้ารูปและการมอบหมายงายให้คนปฏิบัติ เพื่อให้บรรลุผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของงานที่ตั้งไว้
      ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ กล่าวว่า องค์การคือ กระบานการที่กำหนดกฎ ระเบียบ แบบแผนในการปฏิบัติงานขององค์การซึ่งรวมถึงวิธีการทำงานรวมกันเป็นกลุ่ม
      สมบูรณ์ ศรีสุพรรณดิษฐ์ ได้เสนอความหมายขององค์การไว้ว่า เป็นระบบประสานกิจการของกลุ่มคนซึ่งร่วมงานกัน เพื่อให้บรรลุเป้าหมายรวมภายใต้การสั่งการและความเป็นผู้นำ
      สมคิด บางโม กล่าวว่า องค์การ หมายถึง กลุ่มบุคคลหลายๆคนรวมกลุ่มกันอย่างถาวร มีการจัดระเบียบภายในกลุ่มเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของแต่ละคน
       จากความหมายขององค์การระดับต่างๆ ที่กล่าวทั้งหมดอาจสรุปได้ว่า องค์การ คือ กลุ่มบุคคลที่มาปฏิบัติงานร่วมกัน เพื่อให้งานดำเนินไปสู่ความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ โดยมีระบบของการประสานงานอย่างเหมาะสม

              ลักษณะขององค์การ
1. เป็นโครงสร้างของความสัมพันธ์ ดยมีลักษณะสำคัญดังนี้
       1. กำหนดงานให้ชัดเจน มีการแบ่งงานกันทำ สมาชิกในองค์การจะได้รับมอบหมายงานให้ทำงานตามความรู้ ความสามารถและความถนัดของแต่ละบุคคล
       2. มีสายบังคับบัญชาเป็นชั้นๆ ลดหลั่นกันลงมา มีสายการบังคับบัญชาเป็นชั้นๆ ตั้งแต่ระดับ
ระดับสูงสุดลงมาถึงระดับล่างสุดขององค์การ
       3. มีวัตถุประสงค์ องค์การต้องมีวัตถุประสงค์ที่แน่นอน เพื่อสมาชิกขององค์การจะได้ยึดถือเป็นแนวทางในการทำงาน
 
2. เป็นกลุ่มบุคคล
         กลุ่มบุคคล เกิดจากการรวมกลุ่มที่ถาวรเพื่อทำกิจกรรมต่างๆ ให้บรรลุเป้าหมายร่วมกันขนาดของกลุ่มเท่าใดขึ้นอยู่กับลักษณะของกิจการที่ทำ
3. เป็นส่วนหนึ่งของการจัดการ
          เนื่องจากองค์การจะมีปัจจัยต่างๆ ที่จะต้องใช้ในการจัดการ เช่น เงิน วัสดุอุปกรณ์ รวมถึงคนด้วย ดังนั้น เพื่อให้มีการใช้ปัจจัยต่างๆ ดังกล่าวให้มีประสิทธิภาพ จึงต้องมีความชัดเจนในการจัดองค์การ
4. เป็นกระบวนการ
        เนื่องจากองค์การมีงานหรือกรรมวิธีต่างๆ ซึ่งดำเนินต่อเนื่องกันไปจนสำเร็จลง ณ ระดับหนึ่ง
5. เป็นระบบ
        ระบบเป็นการรวมสิ่งต่างๆ ในองค์การที่มีลักษณะซํบซ้อนให้เข้าลำดับประสานกันเป็นอันเดียว ประกอบด้วย 3 ระบบใหญ่ๆ คือ ทรัพยากรที่ใช้ (Resource Input) กระบวนการแปรรูป (Tranformation Process) และผลผลิต (Product Output)

                     ประเภทขององค์การ
1. ยึดตามวัตถุประสงค์เป็นเกณฑ์ แบ่งได้ 4 ประเภท ดังนี้
        1. เพื่อประโยชน์ของสมาชิก ตั้งขึ้นเพื่อประโยชน์ของสมาชิกโดยตรง เช่น พรรคการเมือง สหกรณ์สโมสร สมาคบวิชาชีพ (ครู แพทย์ พยาบาล) เป็นต้น
         2. เพื่อองค์การธุรกิจ ตั้งขึ้นเพื่อกำไร เช่น ห้างร้าน บริษัท ธนาคาร งานอุสาหกรรม เป็นต้น
         3. เพื่อบริการ เป็นองค์การที่ตั้งขึ้นเพื่อสร้างประโยชน์แก่สาธารณทั่งไป เช่น โรงบาล โรงเรียน สมาคบสงเคราะห์ เป็นต้น
         4. เพื่อสวัสดิภาพของประชาชน เป็นองค์การที่ตั้งขึ้นเพื่อประโยชน์ส่วนรวมของประชาชน เช่น กระทรวง ทบวง กรม กอง เป็นต้น

2. ยึดโครงสร้างเป็นเกณฑ์ ในการแบ่ง มี 2 ประเภท คือ
         1. แบบเป็นทางการ (Formal Organization) หรือเรียกว่าองค์การรูปใน เพราะว่ามีโครงสร้างอย่างเป็นระบบ มีระเบียบแบบแผนแน่นอน มีกฎหมายรองรับ เช่น บริษัท มูลนิธิ หน่วยราชการ กรม โรงพยาบาล โรงเรียน เป็นต้น
         2. แบบไม่เป็นทางการ (lnformal Organization) หรือเรียกว่า องค์การรูปนัย เนื่องจากองค์การแบบนี้ตั้งขึ้นด้วยความพึงใจ และมีความสัมพันธ์ส่วนตัว ไม่มีการจักโครงการภายใน มีการรวมกันอย่างง่าย ๆ และเลิกล้มได้ง่าย เช่น ครบครัว ศาสนา เป็นต้น

3. ยึดการกำหนดเป็นเกณฑ์ มี 2 ประเภท ดั้งนี้คือ
          1. องค์การขั้นปฐมภูมิ (Primary Organization) หมายถึง องค์การที่เกิดขึ้นเองโดยธรรมชาติสมาชิกทุกคนต้องเกี่ยวข้องกันมาแต่กำเนิด มีกิจกรรมรวมเฉพาะกลุ่มติดต่อด้วยการส่วนตัว เช่น ครบครัว ศาสนา หมู่บ้าน เป็นต้น
         2. องค์การขั้นทุติยภูมิ (Secondary Organization) หมายถึง องค์การที่มนุษย์ตั้งขั้น สมาชิกมีความสัมพันธ์กันด้วนเหตุผล และความรู้สึกสำนึกอย่างเป็นทางการ ความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกในองค์การไม่เป็นแบบส่วนตัว เช่น หน่วยงานราชการ ห้างหุ้นส่วน บริษัท สมาคม โรงเรียน สโมสร โรงพยาบาล เป็นต้น          

         วัตถุประสงค์ขององค์การ

1. เพื่อสร้างคุณค่าที่สังคมปรารถนาโดยเฉพาะหน่วยงานราชการเพื่อบริการประชาชนสร้างสรรค์ความอยู่ดีกินดีให้แก่ประชาชน ตลอดจนคุ้มครองความปลอดภัยต่าง ๆ และพัฒนาประเทศ
2. เพื่อตอบสนองความต้องการของสมาชิกแต่ละคน และกลุ่มต่าง ๆ ในองค์การเพราะความต้องการของสมาชิกในกลุ่มมีความแตกต่างกัน เช่น
       (1) บางคนต้องการเงิน
       (2) บางคนต้องเกียรติยศชื่อเสียง
       (3) บางคนต้องการผลประโยชน์
3. เพื่อความดำรงอยู่และความเจริญขององค์การ สมาชิกทุกคนต้องทำหน้าที่ให้ดีที่สุด เพื่อให้องค์การบรรลุเป้าหมาย เช่น งานราชการ ต้องทำหน้าที่บริการประชาชน งานธุรกิจเอกชน ต้องทำหน้าที่ให้ได้กำไรมากที่สุด ท้ายสุดองค์การก็เจริญรุ่งเรืองก้าวหน้าต่อไป
      สรุปแล้ววัตถุประสงค์ขององค์การ มีดังนี้
       (1) สร้างสรรค์สินค้าและบริการ
       (2) สนองตอบความต้องการของสมาชิกและสังคม
       (3) ความดำรงอยู่ตลอดไป


         ประโยชน์ของการจัดองค์การ

            องค์การ เป็นที่รวมของคนและงานต่าง ๆ เพื่อให้พนักงานขององค์การปฎิบัติงานได้อย่างเต็มที่และเต็มความสามารถ จึงจำเป็นต้องจัดแบ่งหน้าที่การงานกันทำและมอบอำนาจให้รับผิดชอบตามความสามารถและความถนัด ถ้าเป็นองค์การขนาดใหญ่และมีคนมากตลอดจนงานที่ทำมีมาก ก็จะต้องจัดหมวดหมู่ของงานที่ทำเป็นอย่างเดี่ยวกันหรือมีลักษณะใกล้เคียงกันมารวมเข้าด้วยกัน เรียกว่า ฝ่ายหรือแผนงาน แล้วจัดให้คนที่มีความสามารถในงานนั้น ๆ มาปฎิบัติงานรวมกันในแผนกนั้นและตั้งหัวหน้างานขึ้นรับผิดชอบครบคุม ดังนั้นจะเห็นว่าการจัดองค์การมีความจำเป็นและก่อประโยชน์หลายด้าน ดังนี้
1. ประโยชน์ต่อองค์การ
          1. การจัดโครงสร้างขององค์การที่ดีและเหมาะสม จะทำให้องค์การบรรลุวัตถุประสงค์และเจริญก้าวหน้าขึ้นไปเรื่อย ๆ
          2. ทำให้งานไม่ซ้ำซ้อน ไม่มีแผนมากเกินไป เป็นการประหยัดต้นทุนไปด้วย
          3. องค์การสามารถปรับตัวเขากับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไปได้ง่ายตามความจำเป็น

2. ประโยชน์ต่อผู้บริการ
         1. ทำให้รู้อำนาจหน้าที่และขอบข่ายการทำงานของตนว่ามีเพียงใด
         2. แก้ปัญหาการทำงานซ้ำซ้อนได้ง่าย
         3.หากมีงานคั่งค้าง จุดใด สามารถติดตามแก้ไขได้ง่าย
         4. การมอบอำนาจทำได้ง่าย ขจัดปัญหาการเกี่ยวกันทำงานหรือปัดความรับผิดชอบ

3. ประโยชน์ต่อผู้ปฎิบัติงาน
        1. ทำให้รู้หน้าที่และขอบข่ายการทำงานของตนว่ามีเพียงใด
        2. การแบ่งงานให้พนักงานอย่างเหมาะสม ช่วยให้พนักงานมีความพอใจ ไม่เกิดความรู้สึกว่างานไม่มากไปหรือน้อยไป
       3. เมื่อพนักงานรู้อำนาจหน้าที่และขอบเขตงานของตน ย่อมก่อให้เกิดความคิดริเริ่มในการทำงาน
       4. พนักงานเข้าใจความสัมพันธ์ของตนต่อฝ่ายอื่น ๆ ทำให้สามารถติดต่อกันได้ดียิ่งขึ้น





รูปที่ 4.1 พนักงานในองค์การ


            หลักการจัดองค์การ

1. กำหนดหน้าที่การงาน (Function) กำหนดหน้าที่การงาน เป็นกำหนดกลุ่มของกิจกรรมที่ต้องปฎิบัติเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ขององค์การ นอกจากนี้การกำหนดหน้าที่การงานยังต้องพิจารณาขององค์การและขนาดขององค์การด้วย

2. การแบ่งงาน (Division of Work) การแบ่งงาน เป็นการแยกงานหรือรวมหน้าที่การงานที่มีลักษณะเดี่ยวกันหรือใกล้เคียงกันไว้ด้วยกัน แล้วมอบหมายให้บุคคลตามความสามารถมาปฎิบัติ
3. กำหนดหน่วยงานสำคัญขององค์การ    กำหนดหน่อยงานสำคัญขององค์การ เป็นการกำหนดหน่วยงานที่ต้องรับผิดชอบงานต่าง ๆ จะปฎิบัติประกอบด้วย
        1. หน่วยงานหลัก (Line) หมายถึง หน่วยงานที่ทำหน้าที่โดยตรงกับวัตถุประสงค์ขององค์การเพื่อผลประโยชน์โดยตรงต่อความสำเร็จขององค์การ
              (1) บริษัททำหน้าที่มีผลิตสินค้างานหลัก คือฝ่ายผลิต
              (2) บริษัทร้านสรรพสินค้า งานหลัก คือฝ่ายขาย
              (3) วิทยาลัยเกษตร งานหลัก ฝ่ายเกี่ยวการสอน
       2. หน่วยงานที่ปรึกษา(Staff) หมายถึง หน่วยงานที่ช่วยให้หน่วยงานหลักปฎิบัติงานได้ดียิ่งขึ้น จะเป็นเชี่ยวชาญเฉพาะงานหรือเป็นคณะกรรการปรึกษา
       3. หน่วยงานอนุกรม (Auxliary) หมายถึง หน่วยงานที่ช่วยบริการแก่หน่วยงานหลักและหน่วยงานที่ปรึกษา
4. สายการบังคับบัญชา (Chin of Command)
           สายการบังคับบัญชา หมายถึง ความสัมพันธ์ตามลำดับชั้นระหว่างผู้บังคับบัญชา เพื่อให้ทราบว่าการติดต่อสื่อสารมีทางเดินอย่างไร
     สายการบังคับบัญชาที่ดีควรมีลักษณะดังนี้
             1. จำนวนชั้นแต่ละสายไม่ควรมีจำนวนมากเกินไป
             2. สายการบังคับบัญชาต้องกำหนดไว้ให้ชัดเจน
             3. สายการบังคับบัญชาไม่ควรก้าวก่ายกันหรือไม่ควรซ้อนกัน
5. ช่วงการควบคุม (Span of Control) หมายถึง สิ่งที่แสดงให้ทราบว่าผู้บังคับบัญชาคนหนึ่งมีขอบเขตความรับผิดชอบเพียงใด มีผู้ใต้บังคับบัญชากี่คน ในอดีตหัวหน้างาน 1 คน ต้องดูแลรับผิดชอบผู้ใต้บังคับบัญชา 10-20 คน จึงจะเหมาะสม อย่างไรก็ตามช่วงการควบคุมจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับ
       1. ความสามารถของผู้บังคับบัญชา หากผู้บังคับบัญชามีความสามารถมากก็สามารถปกครองผู้ใต้บังคับบัญชาได้จำนวนมาก
       2. การได้รับการฝึกฝนอบรมของพนักงาน หมายความว่า หากพนักงานได้รับการฝึกฝนอบรมมีความรู้ดีการบังคับบัญชาก็จะง่าย
      3. ความยุ่งยากสลับซับซ้อนของงาน
      4. ความสัมพันธ์กับหน่วยงานอื่น หากมีความสัมพันธ์มากผู้บังคับบัญชาก็ต้องใช้ผู้ใต้บังคับบัญชาจำนวนมากขึ้น
      5. ลักษณะการควบคุมแบบต่างๆ มีดังนี้
            (1) ช่วงการควบคุมที่กว้างมาก มีลักษณะดังรูป

รูปที่ 4.2 แสดงช่วงการควบคุมที่กว้างมาก

            จากรูป เป็นการแสดงถึงช่วงการควบคุมที่กว้างมาก หมายความว่า ผู้บังคับบัญชา 1 คนรับผิดชอบผู้ใต้บังคับบัญชาจำนวนมาก อาจเรียกว่า ช่วงการควบคุม 10
           (2) ช่วงการควบคุมที่กว้าง หมายความว่า ผู้บังคับบัญชา 1 คน รับผิดชอบผู้ใต้บังคับบัญชาจำนวนปานกลาง อาจเรียกว่า ช่วงการควบคุม 5

รูปที่ 4.3 แสดงช่วงการควบคุมที่กว้าง
         
           (3) ช่วงการควบคุมที่แคบ หมายความว่า ผู้บังคับบัญชา 1 คน รับผิดชอบผู้ใต้บังคับบัญชาจำนวนน้อย อาจเรียกว่า ช่วงการควบคุม 3

รูปที่ 4.4 แสดงช่วงการควบคุมที่แคบ

   
       อย่างไรก็ตาม นักวิชาการได้ศึกษาขนาดช่วงการควบคุมที่เหมาะสมไว้ได้ดังนี้
       อาร์ ซี เดวิส พบว่าขนาดการควบคุมระดับผฏิบัติงานมรประสิทธิภาพสูง ประมาณ 30 คน
       เออร์วิก พบว่าสำหรับผู้บีิหารไม่ควรเกิน 4 คน ส่วนผู้ปฏิบัติงานควนมีช่วงการควบคุมประมาณ 8-12 คน
        การกำหนดขนาดของการควบคุมกว้างหรือแคบนั้น จะมีข้อดีข้อเสียแตกต่างกันออกไป ดังนี้ คือ

       ข้อดีข้อเสียขนาดของการควบคุมแบบแคบ
    ข้อดี
1. การควบคุมงานจะกระทำได้โดยทั่วถึงเพราะมีขอบเขตการดูและแคบ
2. การกระทำผิดของผู้ใต้บังคับบัญชามีน้อย

   ข้อเสีย
ขวัญของพนักงานจะไม่ดี เพราะมีการควบคุมใกล้ชิดเกินไป
ข้อดีข้อเสียขนาดของการควบคุมแบบกว้าง
   ข้อดี
ขวัญของพนักงานจะดี เนื่องจากไม่มีการควบคุมใกล้ชิดเกินไป ทำให้รู้สึกผ่อนคลาย
ช่วยทำให้การติดต่อสื่อสารทำได้รวดเร็วและสะดวก

    ข้อเสีย
การควบคุบจะหย่อนประสิทธิภาพ

6. เอกภาพในการบังคับบัญชา (Unity of Command)
     เอกภาพในการบังคับบัญชา หมายถึง อำนาจการควบคุมบังคับบัญชาซึ่งรวมอยู่ที่บุคคลใดบุคคลหนึ่งหรือคณะบุคคลหนึ่งบุคคลใดอย่างชัดเจน ทั้งนี้เพื่อป้องกันมิให้การปฏิบัติหน้าที่ก้าวก่ายกัน และมุ่งทำให้เกิดเอกภาพในการบริหาร
7. แผนภูมิขององค์การ (Organization Chart)
     แผนภูมิขององค์การ คือ เครื่องมือที่ช่วยให้เข้าใจโครงสร้างขององค์การ รู้อำนาจหน้าที่ความรับผิดชอบตลอดจนสายบังคับบัญชาในองค์การนั้น
    1. ประเภทของแผนภูมิองค์การ มีการแบ่ง 3 ประเภท ดังนี้
         (1) แผนภูมิโครงสร้างหลัก (Skeleton Cahrt) เป็นแผนภูมิที่แสดงโครงสร้างขององค์การทั้งหมดขององค์การว่า มีการแบ่งส่วนงานใหญ่ ออกเป็นกี่หน่วย ที่กอง กี่แผนที่สำคัญ ๆ ตลอดจนความสัมพันธ์ที่ต่อเนื่องกัน เนื่องจากแผนภูมิชนิดนี้แสดงสายการบังคับบัญชาลดหลั่นตาลำดับ จึงอาจเรียกได้ว่า "Hierarchical Chart" แบบแผนภูมิหลัก หรือ Master Chart

รูปที่ 4.5 แสดงแผนภูมิโครงสร้างหลัก

       2. แผนภูมิแสดงตัวบุคคล (Personnel Chart) เป็นแผนภูมิแสดงตำแหน่งและหน่วยงานคล้ายแผนภูมิโครงสร้างหลัก แต่ระบุชื่อบุคคลดำรงตำแหน่งไว้ บางแห่งติดรูปผู้ดำรงตำแหน่งไว้ด้วย


รูปที่ 4.5 แผนภูมิแสดงตัวบุคคล

     3. แผนภูมิแสดงหน้าที่การงาน (Function Chart) เป็นตำแหน่งและหน่วยงานย่อยคล้านแผนภูมิโครงสร้างหลัก แต่บอกหน้าที่ของแต่ละตำแหน่งไว้

รูปที่ 4.5 แผนภูมิแสดงหน้าที่การงาน

2. ขั้นตอนและข้อเสนอแนะในการเขียนแผนภูมิ
       1. รวบรวมหน้าที่ต่างๆ ตามที่กำหนดไว้ในการแบ่งงาน
       2. จัดประเภทของงาน งานที่คล้ายกันให้อยู่แผนกและฝ่ายเดียวกัน
       3. กำหนดตำแหน่งงานโดยคำนึงถึงอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบ และความสำคัญ
ของงาน
      4. กำหนดชนิดของแผนภูมิ
      5. เขียนชื่อเรื่องของแผนภูมิ อันประกอบด้วย
            5.1 ชื่อของหน่วยงานหรือชื่อองค์การนั้น ๆ
            5.2 ชื่อของแผนภูมิตามกิจกรรม เช่น "แผนภูมิแสดงแบ่งส่วน ราชการ" "แผนภูมิ
สายทางเดินของงาน" ฯลฯ
            5.3 ใช้รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า แทนหน่วยงาน หรือตำแหน่ง หรือบุคคล และควรมีขนาดเท่ากันโดยกำหนดตำแหน่งสูงสุดให้รูปใหญ่กว่าตำแหน่งรอง ๆ ลงไป
           5.4. จัดรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าให้ตำแหน่งสูงต่ำลดหลั่นตามสายงานการบังคับบัญชาหน่วยงานใดที่มีความสำคัญมีอำนาจหน้าที่เท่ากัน ก็ให้อยู่ในระดับเดียวกัน
          5.5 ลากเส้นสายการบังคับบัญชาผ่านรูปสี่เหลี่ยม ใช้เส้นตรงตามขวางและตามยาวขีดเชื่อมโยงแทนสายการบังคับ บัญชา และไม่ควรลากผ่านทะลุรูปสี่เหลี่ยมแทนที่หน่วยงานหรือบุคคลเป็นอันขาด
          5.6 พวกที่ทำหน้าที่ปรึกษา (Staff) ให้เขียนไว้ต่างหากตามระดับของหน่วยงานที่ให้คำปรึกษาถ้ามีอยู่หน่วยเดียวให้เขียนไว้ทางซ้ายมือ
          5.7 การเขียนเส้นสายการบังคับบัญชาตามข้อ 
7. ให้ใช้เส้นทึบหนา หรือเส้นหนักแทนสายการบังคับบัญชาโดยตรงในหน้าที่หลัก ส่วนหน่วยงานที่ปรึกษาให้ใช้เส้นบางหรือจุดไข่ปลาแทน


สรุปสาระสำคัญ
        ความหมายขององค์การ หมายถึง กลุ่มบุคคลที่มาปฏิบัติงานร่วมกัน เพื่อให้งานดำเนินไปสู่ความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ โดยมีระบบของการประสานงานอย่างเหมาะสม
        ลักษณะขององค์การ
1. เป็นโครงสร้างของความสัมพันธ์ 
2. เป็นกลุ่มบุคคล
3. เป็นส่วนหนึ่งของการจัดการ
4. เป็นกระบวนการ
5. เป็นระบบ 
เป็นมาตรฐานสากลที่ใช้กับการประกอบอาชีพทั่วโลก
หลักการมาตรฐานอาชีพแห่งชาติ
        เป็นข้อกำหนดทางวิชาการที่ใช้เป็นเกณฑ์วัดระดับฝีมือ ความรู้ความสามารถ ทัศนคติโดยมี หลักการที่สำคัญดังนี้
1. มีความรู้ความเข้าใจในทฤษฏีเพียงพอต่อการปฏิบัติงาน
2. การปฏิบัติงานคำนึงถึง ความปลอดภัยในทุกด้าน เช่น ด้านสถานที่ ด้านสภาวะแวดล้อม และตัวบุคคล เลือกใช้และบำรุงรักษา เครื่องมือ อุปกรณ์ได้อย่างถูกต้อง เป็นต้น
3. เลือกใช้และบำรุงรักษาเครื่องมือ อุปกรณ์ได้อย่างถูกต้อง
4. ปฏิบัติงานตามลำดับขั้นตอนถูกต้องเหมาะสม
5. เลือกใช้วัสดุถูกต้อง ประหยัด
6. ใช้เวลาปฏิบัติงานอย่างเหมาะสม
7. ผลงานได้คุณภาพตามมาตรฐานที่กำหนด



ไม่มีความคิดเห็น: