หน้าเว็บ

หน่วยที่ 1 งานอาชีพเบื้องต้น

                                           

         
ความหมายของอาชีพ
          อาชีพ (Occupation) ตามความหมายของบัณฑิตยสถาน (2546 : 1362) กล่าวว่า อาชีพ (อาชีว-อาชีวะ) การเลี้ยงชีวิต การทำมาหากินในงานที่ทำเป็นประจำเพื่อเลี้ยงชีพ
         สรุปแล้ว อาชีพ หมายถึง การทำมาหากินในงานที่ทำเป็นประจำเพื่อให้เกิดรายได้ สำหรับการเลี้ยงชีวิตตนเองและครอบครัว

     ความสำคัญของอาชีพ

      การทำมาหากิน เพื่อดำรงชีวิตของมนุษย์มีความจำเป็นอย่างยิ่งของทุกคน ดังนั้นความสำคัญของอาชีพมีหลายประการ คือ      
        1. พัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น  

        พัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น เช่น มีรายได้ซื้อบ้าน ซื้อรถยนต์ ซื้อเสื้อผ้าใหม่่ๆ ฯลฯ
        2. จุดเริ่มต้นในการพัฒนาความก้าวหน้ายิ่งขึ้น     

       จุดเริ่มต้นในการพัฒนาความก้าวหน้ายิ่งขึ้น เช่น จากปลัดอำเภอ ก้าวขึ้นเป็นนายอำเภอ จากนายอำเภอ ก้าวเป็นปลัดจังหวัด จากปลัดจังหวัด ก้าวเป็นผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นต้น
       3. ฝึกตนเองให้มีภาวะการเป็นผู้นำ

        ฝึกตนเองให้มีภาวะการเป็นผู้นำ โดยเฉพาะหากได้รับการเลือกขึ้นเป็นผู้นำหน่วยงาน
       4. สร้างความเจริญก้าวหน้า
        สร้างความเจริญก้าวหน้า ให้แก่ประเทศชาติ เนื่องจากรายได้ของทุกคนจะช่วยกันเสียภาษีอากร และรัฐบาลนำเงินเหล่านี้มาพัฒนาประเทศชาติให้เจริญก้าวหน้าต่อไป


รูปที่1.1 ภาวะการเป็นผู้นำ
                                                                                             
    ประเภทของอาชีพ

การประกอบอาชีพโดยทั่วไปสามารถแบ่งประเภทออกได้ 3 ประเภท ได้แก่

    1. อาชีพข้าราชการ เป็นอาชีพที่รัฐบาลจ้างเพื่อให้ทำหน้าที่บริการแก่ประชาชนทั่วไป เช่น เกษตร ตำบล ปลัด อบต. ครู พยาบาล หมอ ตำรวจ ทหาร เป็นต้น ซึ่งได้รับรายได้หรือตอบแทนเป็นเงินเดือน

   2. อาชีพอิสระ บางครั้งเรียกว่าอาชีพส่วนตัว เป็นการประกอบอาชีพเป็นของตัวเอง ลงทุนเอง เป็นผู้ดำเนินการเอง และเป็นนายตัวเอง ซึ่งอาชีพอิสระแบ่งได้เป็น 3 อย่าง คือ

            1.2.1 อาชีพการผลิต (Manufacturing) หมายถึง การประกอบอาชีพในการทำสินค้าขึ้นมาสำหรับจำหน่ายให้แก่ผู้บริโภค

           1.2.2 อาชีพการค้า (Trading) หมายถึง การประกอบอาชีพซื้อมาขายไป หรือเป็นคนกลางในการซื้อขายสินค้า

           1.2.3 อาชีพบริการ(Service) หมายถึง การประกอบอาชีพที่ให้บริการลูกค้า เช่น ธนาคาร โรงแรม ร้านตัดผม เป็นต้น

  3. อาชีพลูกจ้าง ไม่ได้เป็นเจ้าของกิจการ ทำงานโดยปฏิบัติตามคำสั่ง และได้รับค่าตอบแทน คือ เงินเดือน หรือรายได้ต่อวัน/สัปดาห์


  รูปที่ 1.2 อาชีพร้านขายก๋วยเตี๋ยว
                                                
        2. ขายผลไม้รถเข็น
             1. ทำเล : ย่านชุมชนที่มีคมนาคมสะดวก เช่น หน้าสำนักงานต่างๆ ตลาด หน้าหมู่บ้าน และตามมหาวิทยาลัย หรือโรงเรียนต่างๆ เป็นต้น
              2. เงินลงทุน : ครั้งแรกประมาณ 6000 บาท
              3. เงินลงทุนต่อวัน : ประมาณ 900 บาท
              4. รายได้ : วันละ 300-400 บาท
              5. อุปกรณ์ : รถเข็น ราคาประมาณ 4500-5000 บาท กระจกสี่เหลี่ยมแบ่งเป็นช่องๆ มีด เขียง กระป๋อง ถาด
              6. วิธีทำ : ผู้ขายจะต้องตื่นแต่เช้า เพื่อไปซิ้อผลไม่มาเตรียมจัดใส่รถไว้ขาย (ซื้อที่ตลาดมหานาค) ผลไม้ที่เลือกซื้อตามฤดูกาล เช่น แตงโม สับประรด ฝรั่ง มันแกว ชมพู่ มะละกอ แคนตาลูป ฯลฯ เมื่อเตรียมผลไม้แล้วก็ทำน้ำจิ่มมี 2 ชนิด ชนิดที่ทำจากพริกป่นผสมเกลือ ป่นผสมน้ำตาลทราย ซึ่งออก 3 รส เค็ม หวาน เผ็ด (นิดหน่อย) และชนิดทำจาก น้ำตาลปี๊บผสมกับพริกขี้หนูผสมเกลือ ให้มี 3 รส เช่นกัน
              7. ข้อแนะนำ : วิธีการหั่นผลไม้ขาย ก็สำคัญเช่นกัน ควรหั่นให้น่ารับประทาน อีกทังตู้ผลไม้ ควรสะอาด สวยงาม จะทำให้ลูกค้าอยากซื้อมากขึ้น

รูปที่ 1.3 อาชีพขายผลไม้รถเข็น


      3. บริษัทซัก อบ รีด
          ด้วยสภาพสังคมที่เปลี่ยนไป ทำให้คนในเมืองต้องใช้ชีวิตอย่างเร่งรีบในการทำงานและการดำเนินชีวิต การจัดการกับธุระส่วนตัวอย่างเรื่องการซักรีดผ้า อาจจะเป็นสิ่งที่อยู่นอกเหนือบริษัทได้เพราะฉะนั้นร้านซัก อบ รีด จึงเกิดขึ้นมาเป็นจำนวนมาก ซึ่งก็เป็นธุรกิจที่สร้างรายได้อย่างเป็นกอบเป็นกำให้แก่ผู้ประกอบการอีกด้วย

     1. เงินลงทุน

    เงินลงทุนครั้งแรกของธุรกิจซัก อบ รีด จะอยู่ประมาณ 20000 บาท ไม่รวมค่าเช่าร้าน
     2. รายได้

        รายได้ของผู้ประกอบการในแต่ละเดือน อย่างน้อยที่สุดอยู่ประมาณ 10000 บาท ซึ่งรายได้จะขึ้นอยู่กับลูกค้า ซึ่งก็อยู่ที่ทำเลของการตั้งร้านและฝีมือในการซัก อบ รีด เป็นสำคัญ

     3. วัสดุ/อุปกรณ์

         วัสดุและอุปกรณ์สำหรับการประกอบธุรกิจ ประกอบไปด้วย

         1. เครื่องซักผ้าแบบถังเดี่ยว

         2. เครื่องอบแห้ง

         3. เตารีด

         4. ถุงพลาสติกสำหรับใส่ผ้านวม ผ้าห่ม และผ้าปูที่นอน

         5. โต๊ะรีดผ้า

         6. กะละมังซักผ้า

         7. ผงซักฟอก

         8. น้ำยาปรับผ้านุ่ม

         9. น้ำยาซักผ้าขาว

        10. น้ำยารีกผ้าเรียบ

        11. ไม้แขวนเสื้อ

        12. ราวแขวนเสื้อ

     4. แหล่งจำหน่ายวัสดุอุปกรณ์

          ร้านจำหน่ายเครื่องใช้ไฟฟ้าและห้างสรรพสินค้าทั่วไป

     5. วิธีดำเนินการ

          ในปัจจุบันการซักผ้าสามารถทำได้ ๒ วิธี คือ ซักด้วยมือและซักด้วยเครื่องซักผ้า โดยมีวิธีการซักที่แตกต่างกัน ดังนี้

    1)การซักผ้าด้วยมือ  เป็นการซักผ้าที่มีมาตั้งแต่ดั้งเดิม เป็นวิธีซักผ้าที่ต้องออกแรงขยี้หรือแปรงผ้าที่ซัก เหมาะสำหรับผ้าที่ต้องการดูแลเป็นพิเศษหรือผ้าที่สกปรกมาก แต่วิธีนี้ใช้เวลา แรงงานมากกว่าซักด้วยเครื่องซักผ้าซึ่งข้อดีของการซักผ้าด้วยมือ คือ สามารถทำความสะอาดเฉพาะส่วนได้ดี

          เครื่องมืออุปกรณ์ที่ใช้ในการซักผ้าโดยทั่วไปแล้วในการซักผ้าด้วยมือจะใช้เครื่องมืออุปกรณ์ดังนี้
1. ถังหรืออ่างสำหรับแช่และซักผ้าอย่างน้อย ๒ ใบ
2. แปรงซักผ้า ใช้แปรงผ้าในส่วนที่สกปรกมาก เช่น ปกเสื้อ ขอบแขน เป็นต้น
3. กระดานแปรงผ้า ให้ใช้คู่กับแปรงสำหรับรองผ้าขณะแปรงผ้า
4. สารซักฟอก ได้แก่ ผงซักฟอก สบู่ และสารฟอกขาวใช้ซักผ้าโดยสารฟอกขาวจะใช้ในกรณีซักผ้าขาว หรือผ้าสกปรกที่ต้องการฟอกเฉพาะส่วน
5. สารแต่งผ้า ได้แก่ คราม แป้งลงผ้า เยลลี่
     - คราม ใช้สำหรับแต่งสีผ้าขาวให้สดใส ทำได้โดยนำครามละลายกับน้ำ และนำผ้าที่ซักสะอาดแล้วไปแช่และขยำในน้ำครามให้ทั่ว บิดและนำไปตาก
     - แป้งลงผ้า ใช้สำหรับลงผ้าให้มีความคงรูป ใช้ได้ทั้งผ้าสีและผ้าขาวโดยทั่วไปแล้วจะใช้กับผ้าฝ้าย ผ้าไหม โดยใช้แป้งมันสำปะหลังต้มกับน้ำ พอน้ำแป้งสุกจะมีลักษณะข้นใส และก่อนที่จะนำไปลงผ้าควรกรองน้ำแป้งด้วยผ้าขาวบาง เพื่อนำเศษฝุ่นละอองและแป้งที่จับเป็นลูกออกจากน้ำแป้ง น้ำแป้งไม่ควรให้ข้นมาก พอแป้งสุกให้นำมาผสมน้ำคนให้ทั่ว แล้วนำผ้าลงแช่ให้ทั่ว จึงบิดและนำไปตาก
    - เยลลี่ลงผ้า ใช้สำหรับตกแต่งผ้าให้คงรูปเช่นกัน มีขายอยู่ทั่วไปลักษณะเป็นแผ่นบางเป็นเส้น วิธีการแต่งผ้าให้นำไปต้มผสมกับน้ำและกรองเช่นเดียวกับแป้งลงผ้า

         2) การซักผ้าด้วยเครื่องซักผ้า เครื่องซักผ้าในมีอยู่หลายรูปแบบ เหมาะสำหรับผ้าที่ไม่พิถีพิถันในการซักหรือผ้าที่ไม่สกปรกมาก แต่ถ้าต้องการซักผ้าที่สกปรกมากด้วย ก่อนการใช้เครื่องซักผ้าควรแปรงหรือขยี้ผ้าด้วยมือ หรือทาด้วยน้ำยาขจัดรอยเปื้อน เฉพาะส่วนที่สกปรกมาก เช่น ปก ปลายแขน เป็นต้น การใช้เครื่องซักผ้าต้องหมั่นเช็ดทำความสะอาด และจะต้องปฎิบัติตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด เพื่อยืดอายุการใช้งานของเสื้อผ้าได้ยาวนาน
สำหรับวิธีการในการซักผ้าควรปฎิบัติดังนี้
1. ก่อนการซักผ้า ให้ตรวจดูกระเป๋าเสื้อ กระเป๋ากางเกงทุกตัวหากมีวัตถุสิ่งของตกค้างอยู่ให้เอาออก
2. กลับเสื้อผ้าทุกตัวโดยเอาด้านในออกก่อนการซักผ้า
3. เพื่อให้ผ้าสะอาดอย่างทั่วถึงควรทำความสะอาดด้วยมือ หรือผสมสารซักฟอกเฉพาะที่ก่อนการซักด้วยเครื่อง เช่น ปกเสื้อ ขอบปลายแขนเสื้อ เป็นต้น
4. นำผ้าใส่ลงในเครื่องซักผ้าตามขนาดละความจุ หรือน้ำหนักที่บอกรายละเอียดไว้
5. นำสารซักฟอกและสารอื่น ๆ ใส่ในเครื่องซักผ้า ตามข้อแนะนำของเครื่องซักผ้าแต่ละชนิด
6. เพื่อให้เสื้อผ้าสะอาดยิ่งขึ้น ควรแช่ผ้าทิ้งไว้ประมาณ ๑๕-๒๐ นาที เช่นเดียวกันกับการซักด้วยมือ
7. ตั้งรายการซักผ้าตามคำแนะนำของเครื่องซักผ้า
8. เมื่อซักเสร็จแล้ว ให้นำผ้าออกจากเครื่องซักผ้า

        3)การซักผ้าขาว ในการซักผ้าขาวควรแยกซักจากผ้าสีเพราะการซักรวมกันกับผ้าสีจะทำให้ผ้าขาวสีหมองคล้ำ หรือมีสีด่างดำจากสีของผ้าสีได้ ในการซักควรปฎิบัติดังนี้
1. นำน้ำเปล่าหรือน้ำผสมผงซักฟอกอ่อน ๆใส่กะละมัง แช่ทิ้งไว้ประมาณ๑๕-๒๐ นาที
2. ศึกษาคุณสมบัติของผ้าก่อนซัก ผ้าบางชนิดผสมใยสังเคราะห์ เมื่อถูกสารฟอกขาวจะเปลี่ยนจากสีขาวเป็นสีเหลืองหรือสีน้ำตาลอ่อน ผ้าบางชนิดเมื่อขยี้แรง ๆหรือถูไปมาแรง ๆเนื้อผ้าจะเสียรูปทรงดังนั้น ควรทดลองโดยใส่เศษผ้าหรือหากไม่มีก็ทดลองโดยใช้เสื้อผ้าส่วนที่มองเห็นไม่ชัดเจนเมื่อสวมใส่เช่นใต้วงแขน สาบเสื้อด้านใน เป็นต้น
3. สำหรับเสื้อผ้าที่สามารถแปรงได้ ให้ใช้แปรงเบา ๆ หลายครั้งในส่วนที่สกปรกมากให้ทั่ว ถ้าเป็นเสื้อเชิ้ตผู้ชายควรใช้วิธีแปรง ถ้าใช้วิธีขยี้จะทำให้ปกเสื้อเสียรูปทรง และในการแปรงผ้าถ้าแปรงแรงมากจะทำให้ผ้าขาดง่ายและเสียรูปทรง ส่วนผ้าที่เนื้อบางให้ใช้วิธีขยำ ถ้าจำเป็นต้องขยี้จะต้องขยี้ให้เบามือที่สุด
4. เมื่อซักสะอาดโดยการซักให้หมดสารซักฟอกแล้ว จึงลงสารแต่งผ้าตามต้องการและนำไปตากแดดโดยกลับเอาด้านในออก

        4) การซักผ้าสี ควรปฏิบัติดังนี้
1. เพื่อป้องกันสีตกและทำให้ผ้ามีสีสดใสขึ้น ให้นำน้ำเปล่าผสมเกลือ คนให้เกลือละลาย และนำผ้าลงแช่ประมาณ ๑ ชั่วโมงโดยใช้น้ำประมาณ ๔ ลิตรต่อเกลือ ๑ ช้อนโต๊ะ
2. นำผ้าไปแช่ในน้ำผสมสารซักฟอกอ่อน ๆในกะละมัง แช่ทิ้งไว้ประมาณ ๑๕-๒๐ นาที
3. ซักวิธีเดียวกันกับการซักผ้าขาว แต่ไม่ต้องลงคราม ส่วนการตกแต่งผ้าให้แข็งก็สามารถทำได้ตามต้องการ




รูปที่ 1.4 อาชีพร้านซักรีด
  
4. ขับรถจักรยานยนต์รับจ้าง
    1. เงินลงทุน : ประมาณ30000 บาท ขึ้นไป (รวมค่ารถ)
    2. รายได้ : 200 บาท ขึ้นไป/วัน (ขึ้นอยู่กับจำนวนผู้ใช้บริการ)
    3. อุปกรณ์ : รถจักรยานยนต์ เสื้อคิว หมวกกันน๊อค
    4. วิธีดำเนินการ : เริ่มจากการซื้อรถจักรยานยนต์ ถ้ามีเงินลงทุนน้อยก็หาซื้อรถมือสอง หมวกกันน๊อคควรมี 2 ใบ สำหรับตัวเองและผู้โดยสาร บางแห่งต้องมีการไปติดต่อซื้อเสื้อคิวจากผู้ดูแลคิว ซึ่งราคาเสื้อแต่ละแห่งไม่เท่ากัน หลังจากนั้นจึงมาเข้าคิวรับ-ส่งผู้โดยสาร บางแห่งอาจเข้าคิวตามเวลาที่มาก่อน-หลัง หรือบางแห่งเข้าคิวตามหมายเลขเข้าคิวตามหมายเลขที่ติดเสื้อคิว อาจมีการจ่ายเงินเป็นรายวันหรือรายเดือน ให้แก่ผู้ดูคิวแล้วแต่จะตกลงกัน เวลาในการให้บริการขึ้นอยู่กับความขยันและจำนวนผู้ใช้บริการ
    5. ข้อแนะนำ :
        1. ผู้ที่จะประกอบอาชีพนี้ต้องมีใบขับขี่ มีความชำนาญ และมีมารยาทในการขี่รถจักรยานยนต์ ปฏิบัติตามกฎหมาย และรู้จักเส้นทางเป็นอย่างดี
       2. เงินลงทุนมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับสภาพรถและราคาเสื้อคิวของแต่ล่ะแห่ง



 รูปที่ 1.5 อาชีพขับรถจักรยานยนต์รับจ้าง
                                               
      สรุปสาระสำคัญ
       อาชีพ หมายถึง การทำมาหากินในงานที่ทำเป็นประจำ เพื่อให้มีรายได้
ความสำคัญของอาชีพ มีหลายประการ คือ
1. พัฒนาคุณภาพชีวิต
2. หน้าที่ก้าวหน้า
3. มีภาวะความเป็นผู้นำ
4. ประเทศชาติพัฒนา
       ประเภทของอาชีพ มี 3 ประการ คือ
1. อาชีพรับราชการ
2. อาชีพอิสระ
3. อาชีพลูกจ้าง
     คุณสมบัติที่จำเป็นของผู้ประกอบอาชีพ มี 2 ประการ ได้แก่
      1. คุณสมบัติของผู้ประกอบอาชีพรับจ้าง เช่น มีไหวพริบ สติปัญญา มีความรู้ในการใช้อุปกรณ์มีทักษะการใช้คอมพิวเตอร์
      2. คุณสมบัติของผู้ประกอบอาชีพอิสระ เช่น กล้าเสี่ยง ประหยัด มีความคิดริเริ่ม สุขภาพแข็งแรง ขยัน หมั่นเพียร ซื่อสัตย์ มีวินัย และความรับผิดชอบ เป็นต้น
           ประโยชน์ของการประกอบอาชีพ คือ ทำให้มีรายได้ต่อตนเอง ทำให้ครอบครัวมีเงินใช้จ่าย และทำให้ประเทศชาติและสังคมพัฒนาก้าวหน้า
         อาชีพที่น่าสนใจในยุคปัจจุบันมีหลายอาชีพ เช่น ขายก๋วยเต๋ยว ขายผลไม้รถเข็น ร้านบริการ ซัก อบรีด เป็นต้น




รูปที่ 1.6 การประกอบอาชีพต่างๆ











ไม่มีความคิดเห็น: