หน้าเว็บ

หน่วยที่ 8 การจัดการด้านสิ่งแวดล้อม

ความหมายของสิ่งแวดล้อม
    มีแนวทางกล่าวถึงความหมายของสิ่งแวดล้อมหลายประการ ดังนี้
    คำว่าสิ่งแวดล้อม มีรากศัพท์มาจากภาษาฝรั่งเศส คือ Environ แปลว่า Around ฉะนั้น Environment จึงหมายถึง Totality of Mom's Surrounding 
    พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ 2542 กล่าวว่า สิ่งแวดล้อม หมายถึง สิ่งต่าง ๆ ทั้งทางธรรมชาติและทางสังคมที่อยู่รอบ ๆ มนุษยฺ์ทั้งที่ดีและไม่ดี เช่น โรงเรียนสร้างสวนดอกไม้ให้เป็นสิ่งแวดล้อมที่ดีแก่นักเรียน
    ศดินา ภารา (2550 : 18) สิ่งแวดล้อม คือ ทุกสิ่งทุกอย่างที่รอบตัวมนุษย์ทั้งในระยะใกล้และไกลอาจเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติหรือที่มนุษย์สร้างขึ้น ทั้งที่เป็นรูปธรรมและนามธรรม เป็นสิ่งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิตก็ได้ ทุกอย่างเกี่ยวข้องเป็นระบบ และมีอิทธิพลต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์หรือสิ่งมีชีวิต
    สรุป สิ่งแวดล้อม หมายถึง สิ่งที่อยู่รอบตัวของมนุษย์ ทั้งใกล้และไกล เป็นรูปธรรมและนาทธรรมมีชีวิตหรือไม่มีชีวิตก็ได้ ทุกอย่างสัมพันธ์กันและมีอิทธิพลต่อมนุษย์

   คุณสมบัติของสิ่งแวดล้อม

   สิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบตัวมนุษย์มีคุณสมบัติเฉพาะตัว 7 ประการ คือ
   1. สิ่งแวดล้อมไม่อยู่โดเดี่ยวในธรรมชาติ แต่จะมีสิ่งแวดล้อมอื่น ๆ  อยู่ร่วมด้วยเสมอ เช่น ปลาอยู่ในน้ำ ดินอยู่กับต้นข้าว คนกับที่พัก ฯลฯ
   2. สิ่งแวดล้อมต้องพึ่งพาอาศัยกันและกัน เนื่องจากสิ่งแวดล้อมทุกชนิดต้องการสิ่งแวดล้อมอื่น ๆ เพื่อการอยู่รอด หรือจรรโลงชีวิตของตนเอง เช่น ต้นยาง ต้องการดินและน้ำ โคต้องการน้ำ ฯลฯ
   3. สิ่งแวดล้อมแต่ละประเภทจะมีความแข็งแรงทนทานแตกต่างกัน เช่น ดินจะถูกชะล้างได้ง่าย
   4. สิ่งแวดล้อมมีการเปลี่ยนแปลงตามเวลาที่เปลี่ยนไป เช่น ที่เชื้อราใหม่ ๆ มีสีสันสวยงาม แต่เมื่อใช่งานนานจะเกิดการชำรุง เป็นต้น
   5. สิ่งแวดล้อมจะอยู่รวมกันเป็นกลุ่มเรียกว่า ระบบนิเวศ ซึ่งเป็นรูปแบบที่ต้องอาศัยกันและกันทั้งทางตรงหรือทางอ้อม
   6 .สิ่งแวดล้อมจะสัมพันธ์เป็นลูกโซ่ หมายความว่า เมื่อสิ่งแวดล้อมชนิดหนึ่งถูกทำลายก็จะกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอื่น ๆ เป็นลูกโซ่เสมอ เช่น ป่าถูกทำลาย จะส่งผลให้พื้นดินพังทลาย หรือเผาป่าทำให้โลกร้องขึ้น เป็นต้น
   7. สิ่งแวดล้อมทุกชนิดมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว เป็นเอกลักษณ์ของสิ่งแวดล้อมชนิดนั้น ๆ เช่น ต้นไม้ น้ำ คน บ้าน แตละชนิดมีลักษณ์แตกต่างกัน

    ประเภทของสิ่งแวดล้อม

    สิ่งแวดล้อมแบ่งออกเป็นประเภทได้ 2 ประเภท ได้แก่ 
    สิ่งล้อมธรรมชาติ (Natural Environment)
    สิ่งแวดล้อมธรรมชาติ หมายถึง สิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นเองหรือมีอยู่ตามธรรมชาติและให้มีประโยชน์ต่อมนุษย์ มีอยู่ 2 ประเภท คือ
    1. สิ่งแวดล้อมชีวภาพ (Biological Environment) เป็นสิ่งแวดล้อมที่มีชีวีต เช่น คน สัตว์ พืช เป็นต้น
    2. สิ่งแวดล้อมกายภาพ (Physical Environment) เป็นสิ่งแวดล้อมที่ไม่มีชีวิต เช่น ลม ฟ้า น้ำ ควัน เสียง เป็นต้น
    สิ่งแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้น คือ สิ่งที่เกิดขึ้นจากการกระทำของมนุษย์ทั้งที่ตั้งใจและไม่ได้ตั้งใจ ทั้งที่มีตัวตน มี 2 ประเภท คือ
    1. สิ่งแวดล้อมทางกายภาพ (Physical Environment) หรือเรียกว่าสิ่งแวดล้อมรูปธรรมเป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น สามารถมองเห็นได้ เช่น ถนน เมือง สะพาน รถ เครื่ิงบิน เป้นต้น
    2. สิ่งแวดล้อมทางสังคม (Social Environment) หรืออาจเรียกว่า สิ่งแวดล้อมนามธรรม เป็นสิ่งที่สร้างขึ้นเพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อยของการอยู่ร่วมกัน เช่นศาสนา กฎหมาย ข้อบังคับต่าง ๆ พฤติกรรมของคน เป็นต้น

    กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม

    กฎหมาย เป็นข้อตกลงทางสังคมเพื่อให้มีการนำไปใช้ในการดำรงชีวิตได้อย่างมีความสุข ไม่ม่การละเมิดสิทธืส่วนบุคคล เช่นเดี่ยวกับกฎหมายสิ่งแวดล้อมที่มีขึ้รเพื่อมีการรักษาสิ่งแวดล้อมของชุมชน ของประเทศ และของโลกเรา และป้องกันสภาพแวดล้อมไม่ให้เสื่อมโทรม กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมมีหลายฉบับที่สำคัญ ดังนี้
    1. พระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ 2535 เป็นกฎหมายที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการประกอบอุตสาหกรรม คือ การประกอบกิจการโรงงาน การกำกับและดูแลโรงงาน และบทกำหนดโทษ โดยให้รัฐมนตรีว่ากระทรวงอุตสาหกรรมมีอำนาจในการออกกฎกะทรวง กำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับที่ตั้งของโรงงาน สภาพแวดล้อมโรงงาน การควบคุมมลพิษหรือสิ่งต่าง ๆ ที่เกิผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
     2. พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ 2535 มี 7 หมวด ได้แก่
         หมวด 1 คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ
         หมวด 2 กองทุนสิ่งแวดล้อม
         หมวด 3 การคุมครองสิ่งแวดล้อม
         หมวด 4 การควบคุมมลพิษ ประกอบด้วย คณะกรรมการควบคุมพิษ มาตรฐานควบคุมมลพิษจากแหล่งกำเนิด เขตควบคุมมลพิษ มลพิษทางอากาศและเสียง การตรวจสอบและควบคุมค่าบริการและค่าปรับ         
         หมวด 5 มาตรการส่งเสริม
         หมวด 6 ความรับผิดทางการแพ่ง
         หมวด 7 บทกำโทษ
      3. ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่องการกำหนดชนิดและขนาดของโรงงาน กำหนดวิธีการควบคุมการปล่อยของเสียมลพิษหรือสิ่งใดๆ ที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม กำหนดหลักเกณฑ์การขึ้นทะเบียนผู้ควบคุมดูแลสำหรับระบบป้องกันสิ่งแวดล้อมเป็นพิษ พ.ศ. 2545 ซึ่งเป็นกฏหมายที่กำหนดโรงงานมีการแต่งตั้งบุคลากรด้านสิ่งแวดล้อมประจำโรงงาน ได้แก่ ผู้จัดการสิ่งแวดล้อม ผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษน้ำ ผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษอากาศ เป็นต้น 
     4. ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่องกำหนดปริมาณสารเจือปนในอากาศ ที่ระบายออกจากปล่องเตาเผาสิ่งปฏิกูล หรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วเป็นที่อันตรายจากอุตสาหกรรม พ.ศ. 2545 กำหนดค่าพารามิเตอร์ไว้ ดังนี้
       - ฝุ่นละออง 34 มิลลิกรัมต่อลูกบาศก์เมตร
       - HCI 50 มิลลิกรัมต่อลูกบาศก์เมตร
       - CO 115 มิลลิกรัมต่อลูกบาศก์เมตร
       - ปรอท 0.1 มิลลิกรัมต่อลูกบาศก์เมตร
       - แคดเมียมและตะกั่ว 0.2 มิลลิกรัมต่อลูกบาศก์เมตร
    5. พระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ 2535 ประกอบด้วย 4 หมวด ได้แก่
     หมวดที่ 1 คณะกรรมการวัตถุอันตราย
     หมวดที่ 2 การควบคุมวัตถุอันตราย
     หมวดที่ 3 หน้าที่และความรับผิดชอบทางแพ่ง
     หมวดที่ 4 บทกำหนด
    6. ประกาศคณะกรรมการการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ฉบับที่ 15 (พ.ศ2540) เรื่อง กำหนดมาตรฐานระดับเสียง โดยทั่งไปกำหนดไว้ระดับเสียงเฉลี่ย 24 ชั่วโมง ไม่เกิน 70 db(A)
    7. พระราชบัญญัติรักษาความสะอาดและความเป็นเรียบร้อยของบ้านเมือง มีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะจัดการเรื่องความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง โดยกำหนดให้อาคาร ห้างร้าน สำนักงาน โรงงาน โรงมหรสพ โรงแรมต่างๆ จ้างเจ้าหน้าที่ดูแลรักษาความสะอาดหน้าอาคารนั้นให้สะอาด เช่น
- ห้ามอาบน้ำ ซักผ้า บนถนนเว้นแต่ได้รับอนุญาต
- ห้ามสั่ง ถ่มน้ำลาย น้ำมูก น้ำหมาก ลงบนถนน หากฝ่าฝื้นปรับไม่เกิน 100 บาท
- ห้ามถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะลงบนถนนสาธารณะ ฝ่าฝืนปรับไม่เกิน 500 บาท
- ห้ามเด็ดใบ ดอก หรือผลของต้นไม้ของสาธารณะฝ่าฝืนปรับไม่เกิน 200 บาท

              ประโยชน์ของการจัดการสิ่งแวดล้อม

       ประโยชน์ที่องค์การจะได้รับจากระบบการจัดการสิ่งแวดจำแนกออกเป็นประโยชน์ทางตรงและทางอ้อม ดังนี้
      1. ประโยชน์ทางตรง
           (1) องค์การบริหารด้านสิ่งแวดล้อมได้ ลดการใช้ทรัพยากรด้านวัสดุอย่างมีระบบ
           (2) ลดค่าใช้จ่ายในการจัดการผลิต เนื่องจากการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า
           (3) มีการจัดการสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม เช่น การจัดการการทรัพยากร การจัดการของเสีย (Waste Management) ทำให้มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุดเป็นผลให้ต้นทุนต่ำ
           (4) เกิดสภาพแวดล้อมการทำงานที่ดี พนักงานมีความปลอดภัยในการทำงาน ลดความเสี่ยงที่เกิดจากความผิดพลาดในการกำจัดขยะที่มีพิษ รวมถึงลดความเสียงที่เกิดต่อชุมชนรอบๆ สถานประกอบการ
       2. ประโยชน์ทางอ้อม
            (1) สร้างภาพพจน์ที่ดีให้กับองค์การ เป็นที่ยอมรับของสังคม เป็นผู้ผลิตที่มีจริยธรรม ไม่เป้นผู้ทำลายสิ่งแวดล้อม ทำให้เกิดสัมพันธภาพที่ดีต่อชุมชน
            (2) เพิ่มโอกาสทางธุรกิจซึ่งเป้นผลจากการคิดริเริ่มผลิตสินค้าที่ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม ทำให้การเจรจาทางด้านการค้าสะดวกยิ่งขึ้น เป็นผลให้สามารถรักษาส่วนแบ่งทางการตลาดและเพิ่มโอกาสในการขยายตลาดในอนาคตอีกด้วยนับว่าเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง
            (3) ช่วยในการอนุรักษ์ ทรัพยากรของโลกซึ่งเหลืออยู่ไม่มากนัก

                มาตรฐานระบบคุณภาพการจัดการสิ่งแวดล้อม Iso14000

       1. ความหมายและแนวคิดของมาตรฐานระบบคุณภาพ Iso 14000
             มาตรฐาน ISO 14000 คือมาตรฐานสากลว่าด้วยการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมระหว่างประเทศที่กำหนดโดยองค์การมาตรฐานระหว่างประเทศ (The lnternational Organization for Standardization) ซึ่งตั้งอยู่ ณ กรุงเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เพื่อเป็นมาตรฐานสากลในการกำหนดคุณภาพสิ่งแวดล้อมในกระบวนการผลิตและมาตรฐานผลิตภัณฑ์ เพื่อสร้างระบบในการรักษา ควบคุม และปรับปรุงคุณภาพของสิ่งแวดล้อม รวมทั้งป้องกันสุขอนามัยของมนุษย์ โดยมีการวางแผนกำหนดแนวทางเพื่อป้องกันและลดต้นเหตุของมลพิษ ครอบคลุมถึงการฝึกอบรมพนักงาน การจัดการด้านความรับผิดชอบ และระบบต่าง ๆ ที่ต้องดำเนินการด้านสิ่งแวดล้อมในองค์การ 
           มาตรฐาน ISO 14000 เป็นอนุกรมมาตรฐานการจัดการสิ่งแวดล้อม ได้แก่ ระบบการจักการสิ่งแวดล้อม การตรวจประเมินการจัดการสิ่งแวดล้อม การประเมินความสามารถในการจัดการสิ่งแวดล้อมการแสดงฉลากรับรองผลิตภัณฑ์ และการประเมินผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในวงจรของผลิตภัณฑ์ทุกองค์การทั้งผู้ผลิตและบริโภค
           มาตรฐาน ISO 14000 ประกอบด้วยมาตรฐานหลายฉบับ เริ่มต้นแต่หมายเลย 14001 จนถึง14100 สำหรับมาตรฐานที่สามารถยื่นขอรับการรับรองได้คือ ISO 14001 Environmental Management Systems-Specification with Guidance for Use หรือที่เรียกกันว่า เป็นมาตรฐานระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม
    2. โครงสร้างอนุกรมมาตรฐาน ISO 14000 
         มาตรฐานการจัดการสิ่งแวดล้อม ISO 14000 ที่หน่วยงานต่าง ๆ สามารถดำเนินการที่จัดขึ้นมี 3 กลุ่ม มาตรฐานของระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม เกี่ยวผลิตภัณฑ์ และมาตรฐานเกี่ยวกับการตรวจสอบ ซึ่งแต่ละกลุมมีรายเอียดดังนี้
       1. มาตรฐานของระบบการจักการสิ่งแวดล้อม (Environmental Management System : EMS) มีหน้าที่ควบคุมระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมของหน่วยงานทางด้านนโยบายการงางแผน การปฎิบัติการตรวจสอบ มี 2 รูปแบบ คือ
           ISO 14001 หมายถึง ข้อกำหนดสำหรับการใช้เป็นข้อกำหนดของระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม และแนวทางในการนำข้อกำหนดไปใช้ในองค์การ
           ISO 14004 หมายถึง หลักเกณฑ์และข้อเสนอแนะเป็นแนวทางเกี่ยวกับหลักการของระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมและการประยุกต์ใช้ในองค์การ
        2. มาตรฐานเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ (Product Evaluation Standards) ประกอบ มาตรฐานเกี่ยวกับการประเมินผลของผลิตภัณฑ์ 3 แบบ คือ
           (1) ฉลากสิ่งแวดล้อม (Environmental Labels, EL) หมายถึง สิ่งต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับฉลากสิ่งแวดล้อมด้วยการกำหนดมาตรฐาน คิอ 
              ISO 14020 หลักการพื้นฐานเกี่ยวกับการพัฒนาและการใช้ฉลากสิ่งแวดล้อม
              ISO 14021 คำนิยามและคำศัพท์เกี่ยวกับการใช้ฉลากผลิตภัณฑ์ประเภทที่ 2
              ISO 14022 วิธีการ/แนวทางในการใช้สัญลักษณ์ของฉลากผลิตภัณฑ์ประเภทที่ 2
              ISO 14023 วิธีการตรวจสอบและรับรองผลิตภัณฑ์ที่จะใช้ฉลากผลิตภัณฑ์ประเภทที่ 2
              ISO 14024 แนวทางหลักการและข้อกำหนดของวิธีการรับรองผลิตภัณฑ์ที่จะใช้ฉลากผลิตภัณฑ์ประเภทที่ 1
           (2) การประเมินวงจรผลิตภัณฑ์ (Life-Cycle Assessment, LCA)
การประเมินวงจรผลิตภัณฑ์หรือวงจงชีวิต หมายถึง ลักษณะปัญหาสิ่งแวดล้อมและผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่เป็นไปได้ของผลิตภัณฑ์ เป็นการศึกษาลักษณะปัญหาสิ่งแวดล้อมและผลกระทบที่เป็นไปได้ตลอดชีวิตของผลิตภัณฑ์ตั้งแต่การได้มาซึ่งวัตถุดิบไปจนถึงการผลิต การใช้ ด้วยการกำหนดมาตรฐาน ได้แก่
             ISO 14040 หลักการกรอบงาน และข้อกำหนดสำหรับการดำเนินการและการรายงานผลการศึกษาการประเมินวงจงผลิตภัณฑ์
             ISO 14041 วีธีการจัดทำรายงาน ปัจจัยที่ใช้ในกระบวนการการผลิต/บริการ และผลที่ได้จากกระบวนการ
             ISO 14042 การประเมินผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมของวงจงผลิตภัณฑ์
             ISO 14043 การประเมินการปรับปรุงผลิตภัณฑ์
      3. ลักษณะปัญหาสิ่งแวดล้อมของมาตรฐานผลิตภัณฑ์ (Environmental Aspects inproducts Standards, EAPS) เป็นข้อแนะนำว่าด้วยประเด็นปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมของมาตรฐานผลิตภัณฑ์เป็นหลักษณะของการกำหนดเกณฑ์ (Criteria) เดิมจัดทำเป็นมาตรฐาน ISO 14060 ปัจจุบันเป็น ISO Guide 64
     3.มาตรฐานเกี่ยวกับการตรวจสอบ เป็นมาตรฐานที่กำหนดวิธีการตรวจประเมินด้านสิ่งแวดล้อม ได้แก่
          (1) มาตรฐานการตรวจสอบด้านสิ่งแวดล้อม (Environmental Auditing) จัดเป็นเครื่องมือในการตรวจสอบประเมินการด้านสิ่งแวดล้อม ประกอบด้วย 3 มาตรฐาน คือ
          ISO 14010 หมายถึง หลักเกณฑ์ทั่วไปที่เป็นแนวทางและหลักการในการตรวจสอบสิ่งแวดล้อม
          ISO 14011 หมายถึง แนวทางสำหรับการตรวจติดตามสิ่งแวดล้อม (เป็นวิธีตรวจประเมินระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม
          ISO 14012 หมายถึง คุณสมบัติผู้ตรวจสอบ เป็นข้อกำหนดคุณสมบัติของผู้ตรวจสอบสิ่งแวดล้อม
        (2) มาตรฐานการประเมินผลด้านสิ่งแวดล้อม (Environmental performance Evaluation,EPE) เป็นเครื่องมือที่ผู้บริหารใช้ประเมินองค์การว่าได้ทำงานบรรลุวัตถุประสงค์ทางสิ่งแวดล้อมที่ได้ตั้งไว้หรือไม่ โดยตรวจสอบจากสภาพการปฎิบัติงาน เทคโนโลยี ปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้น คือ
       ISO 14031 หมายถึง แนวทางการประเมินผลการดำเนินการด้านสิ่งแวดล้อม
   3. หลักการของระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม ISO 14000
       การดำเนินงานตามระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม ISO 14000 มีหลักการที่จะต้องคำนึงถึงดังต่อไปนี้
      1. กำหนดนโยบายสิ่งแวดล้อม เริ่มแรกผู้บริหารระดับสูงขององค์การต้องกำหนดนโยบายสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสมกับสภาพ ขนาด และผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ที่เกิดจากการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ขององค์การ
      2. วางแผน
            (1) ระบุลักษณะปัญหาสิ่งแวดล้อม
            (2) พิจารณาข้อกำหนดในกฎหมายและระเบียบอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
            (3) กำหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมายด้านสิ่งแวดล้อมให้สอดคล้องกับนโยบาย
            (4) จัดทำโครงการจัดการสิ่งแวดล้อม เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมาย
      3. นำนโยบายไปปฎิบัติและดำเนินการ
            (1) จัดโครงสร้างขององค์การและกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบ เพื่อให้การจัดการสิ่งแวดล้อม สามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิพล
            (2) จัดฝึกอบรมสร้างจิตสำนึกและให้ความรู้ด้านสิ่งแวดล้อมแก่บุคลากรที่ปฎิบัติงานในลักษณธที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบสำคัญต่อสิ่งแวดล้อม
            (3) กำหนดลักษณะและขั้นตอนการติดต่อสื่อสารทั้งภายในและภายนอกองค์การ
            (4) จัดทำและควบคุมระบบเอกสารด้านการจัดการสิ่งแวดล้อม
            (5) ควบคุมการดำเนินงานในกิจกรรม ซึ่งเกี่ยวข้องกับลักษณะปัญหาสิ่งแวดล้อมเพื่อให้บรรลุนโยบาย วัตถุประสงค์ และเป้าหมายที่กำหนด
           (6) เตรียมพร้อมเพื่อรับสถานการณ์หากเกิดเหตุฉุกเฉิน รวมถึงการป้องกันและบรรเทาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวกับสถานการณ์ดังกล่าว
   4. ตรวจสอบและแก้ไข
            (1) เฝ้าติดตามและวัดผลในกิจกรรมซึ่งก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
            (2) ดำเนินการแก้ไขและป้องกันในสิ่งที่ไม่เป็นไปตามข้องกำหนด
            (3) ตรวจติดตามประสิทธิพลของการแก้ไขและการป้องกัน
   5. ทบทวนระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม 
         โดยผู้บริหารระดับสูงขององค์การเป็นระยะ ๆ เพื่อให้แน่ใจว่าระบบที่ได้จัดทำขึ้นมีความเหมาะสมเพียงพล และได้นำไปใช้อย่างมีประสิทธิภาพ

   4. ขั้นตอนการจัดทำระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม ISO 14000 มีขั้นตอนดังนี้

         (1) ขั้นศึกษาอนุกรมมาตรฐาน ISO 14000 เพื่อค้นหาข้อมเท็จจริงในการดำเนินการเข้าสู่ระบบซึ่งปัจจุบันมีหน่วยงานมากมายให้ความรู้ เช่น สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) สำนักงานรับรองมาตรฐานไอเอสโอ (สรอ.) สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ และองค์การต่าง ๆ ที่ผ่านการรับรองคุณภาพ
         (2) แต่ตั้งคณะกรรมการ เพื่อจัดทำรับบควบคุมดูแลให้เป็นไปตามที่ได้กำหนดไว้
         (3) คณะกรรมการกำหนดนโยบายด้านสิ่งแวดล้อม วางแผนการจัดระบบ จัดทำวิธีการปฎิบัติและคำแนะนำที่จำเป็น ทั้งนี้ต้องไม่ละเลยในการสร้างจิตสำนึกเรื่องสิ่งแวดล้อมแก่บุคลากร
         (4) ปฎิบัติตามระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมที่กำหนดไว้ 
         (5) ตรวจติดตามระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม เพื่อตรวจสอบว่าระบบเป็นไปตามแผนและข้อกำหนดของมาตรฐานหรือไม่ เพียงใด ตลอดจนได้มีการนำไปใช่ปฎิบัติและคงไว้อย่างเหมาะสมหรือไม่
         (6) ปรับปรุงและแก้ไขข้อบกพร่องที่พบจากการตรวจติดตามภายใน และปรับปรุงระบบให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
         (7) ยื่นคำขอรับรองจากหน่วยงานจดทะเบียน
 5. ฉลากเพื่อสิ่งแวดล้อม 
          ฉลากเพื่อสิ่งแวดล้อมจัดเป็นเครื่องมือหนึ่งในการจัดการสิ่งแวดล้อมตามวัตถุประสงค์ของระบบ ISO 14000 ที่รู้จักกันดีของฉลากเพื่อสิ่งแวดล้อม คือ ฉลากเขียว (Green Label) ฉลากเพื่อสิ่งแวดล้อมในปัจจุบันตามระบบ ISO 14000 แบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่
          ประเภทที่ 1 (Type 1) เป็นฉลากที่ผ่านการรับรองโดยบุคคลที่ 3 ซึ่งได้แก่ องค์การอิสระที่ใช้มาตรฐาน ISO 14000 เป็นแนวทางในการประเมินมอบให้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณสมบัติตรงกับข้อกำหนดทางสิ่งแวดล้อมที่องค์การกำหนด โดยมีเกณฑ์หรือเงือนไขในการพิจารณามากกว่า 1 อย่าง
         ประเภทที่ 2 เป็นฉลากผลิตภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อม ที่เกิดขึ้นจากการประกาศตนเองบุคคลที่ 1 ซึ่งใช้มาตรฐาน ISO 14021, ISO 14022 และ ISO 14023 เป็นแนวทางในการปฎิบัติ โดยปกติแล้วผู้ผลิตจะเป็นผู้ติดตามฉลากเอง
         ประเภทที่ 3 เป็นฉลากที่ผ่านการรับรองโดยบุคคลที่ 3 ที่ไม่มีการวางเงื่อนไข มีลักษณะคล้ายกับฉลากโภชนาการของอาหาร ผู้ผลิตเพียงแต่รายงานด้านเทคนิคให้ทราบ ลักษณะของฉลากจะบอกรายละเอียดให้ข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ในการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ พลังงาน ปริมาณมลพิษที่เกินขึ้น เป็นต้น
          ในการออกฉลากเพื่อสิ่งแวดล้อมประเภทที่ 1 โดยองค์การอิสระจะใช้ ISO 14024 เป็นหลักการและวิธีปฎิบัติ ซึ่งก็คือมาตรฐานที่เกี่ยวกับฉลากเชียว (Green Label หรือ Eco-Label) ซึ่งดำเนินการโดยภาครัฐหรือเอกชนก็ได้


    รูปที่ 8.1 ฉลากเขียวที่ออกให้โดยองค์การอิสระซึ่งเป็นบุคคลที่ 3 ของประเทศไทย

         ฉลากเขียว เป็นเครื่องมือและกลยุทธ์อย่างหนึ่งที่ใช้ในการตลาด เป็นเครื่องมือในการช่วยรักษาและป้องกันทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมผ่านทางการผลิตและการบริโภค ฉลากเขียวไม่ได้เป็นรางวัลด้านสิ่งแวดล้อมแต่เป็นสิ่งที่ออกให้กับผลิตภัณฑ์ซึ่งได้ผ่านการประเมินและตรวจสอบว่าได้มาตรฐานทางด้านสิ่งแวดล้อมตามข้อกำหนดที่คณะกรรมการโครงการฉลากเขียวประกาศใช้ ซึ่งโครงการฉลากเขียวดำเนินงานโดยความสมัครใจของผู้ผลิต ผู้จัดจำหน่าย หรือผู้ใช้บริการที่ต้องการแสดงความรับผิดชอบสิ่งแวดล้อม

        ในประเทศไทยมีคณะกรรมการนักธุรกิจเพื่อสิ่งแวดล้อมไทยริเริ่มโครงการฉลากเขียวขึ้นตั้งแต่ 10 ตุลาคม 2536 โดยมีเกณฑ์ในการคัดเลือกผลิตภัณฑ์เพื่อมอบฉลากเขียว ดังนี้
1. เป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในการอุปโภคบริโภคทั่วไปในชีวิตประจำวัน
2. ผลกระทบของผลิตภัณฑ์ที่มีต่อสิ่งแวดล้อม และคุณประโยชน์ที่สิ่งแวดล้อมจะได้รับจำหน่ายผลิตภัณฑ์ออกสู่ตลาด
3. มีวิธีการตรวจสอบประเมินคุณภาพของผลิตภัณฑ์ที่ไม่ยุ่งยากและไม่เสียค่าใช้จ่ายสูง
4. ต้องเป็นผลิตภัณฑ์ที่ผู้ผลิตมีทางเลือกอื่นในการผลิตที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อย
5. การจัดการทรัพยากรธรรมชาติ ทั้งที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ และไม่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่
6. การลกมลพิษสิ่งแวดล้อม ตั้งแต่การผลิต การขนส่ง การบริโภค และการกำจัดหลังการใช้แล้ว
7. การนำกลับมาใช้ใหม่ หรือหมุนเวียนกลับมาใช้ใหม่
8. การปฏิบัติตามข้อกำหนดของกฎหมาย

6 เหตุการณ์เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม

     1. ลักลอบตัดไม้ป่าต้นน้ำทุ่งระยะ


รูปที่ 8.2 ข่าวลักลอบตัดไม้ป่าต้นน้ำทุ่งระยะ

2. เทศบาลขุขันธ์ จ. ศรีสะเกษ มุ่งประหยัดพลังงาน

รูปที่ 8.3 เทศบาลขุขันธ์ จ. ศรีสะเกษ มุ่งประหยัดพลังงาน

3. สิ่งแวดล้อม จ. ภูเก็ต บับเคลื่อนเมืองสวยใสไร้มลพิษ

รูปที่ 8.4 ข่าวสิ่งแวดล้อม จ. ภูเก็ต บับเคลื่อนเมืองสวยใสไร้มลพิษ

4. ลดมลพิษจากหมอกควันภาคเหนือ

รูปที่ 8.5 ข่าวลดมลพิษจากหมอกควันภาคเหนือ

5. กระทรวงวิทย์ฯ นำเทคโนโลยีช่วยปรับปรุงคุณภาพน้ำ ภาคอีสาน

รูปที่ 8.6 ข่าวกระทรวงวิทย์ฯ นำเทคโนโลยีช่วยปรับปรุงคุณภาพน้ำ ภาคอีสาน

6. กระทรวงพลังงานร่วมปลูกป่าในจังหวัดน่าน

รูปที่ 8.7 ข่าวกระทรวงพลังงานร่วมปลูกป่าในจังหวัดน่าน


สรุปสาระสำคัญ
      สิ่งแวดล้อม หมายถึง สิ่งที่อยู่รอบตัวมนุษย์ ทั้งที่อยู่ใกล้และไกล เป็นรูปธรรมและนามธรรม มีชีวิตหรือไม่มีชีวิต และมีคุณสมบัติเฉพาะตัว 7 ประการ มี 2 ประเภท ได้แก่ สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้น โดยปัจจุบันมีกฎหมายที่เกี่ยวข้องในการกำกับดูแลควบคุมสิ่งแวดล้อมอย่างดีโดยเฉพาะพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 ทำให้เกิดประโยชน์ทั้งประโยชน์ทางตรงและประโยชน์ทางอ้อมมากมาย อย่างไรก็ตามเพื่อให้การจัดการสิ่งแวดล้อมมีมาตรฐานสากล จึงได้มีการนำระบบมาจรฐาน ISO 14000 มาใช้









    

  
         
         


       




ไม่มีความคิดเห็น: