หน้าเว็บ

หน่วยที่ 5 หลักการปฏิบัติตนในงานอาชีพ

           การเตรียมตัวเองเข้าสู่งานอาชีพ
        การเตรียมตัวเองเข้าสู่งานอาชีพมีความสำคัญอย่างมากต่อการประกอบอาชีพ ซึ่งหากมีการเตรียมการที่ดีย่อมส่งผลให้สามารถประกอบอาชีพได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสบความสำเร็จ ดังนั้น การเตรียมตัวเองเข้าสู่งานอาชีพ มีวิธีการดังนี้
1 การเตรียมตัวขณะกำลังศึกษา
         การเตรียมตัวขณะกำลังศึกษา เป็นการเตรียมตัวในด้านวิชาการ ด้านประสบการณ์ และการฝึกฝนความสามารถพิเศษ ซึ่งมีวิธีปฏิบัติได้แก่
        1. การเตรียมตัวความรู้วิชาการ เป็นการศึกษาความรู้สู่อาชีพเกี่ยวกับหลักการหรือทฤษฎีในงานอาชีพที่น่าสนใจ เพื่อให้เข้าใจอย่างท่องแท้
        2. การเตรียมตัวประสบการณ์ชีวิต การที่จะได้รับประสบการณ์จะต้องทำกิจกรรมนอกหลักสูตรการเรียนอย่างเป็นระบบ เช่น ศึกษาดูงานจากแหล่งเรียนรู้ที่ได้รับรางวัล ร่วมกิจกรรมกลุ่มหรือชมรมต่างๆตามที่ตนเองสนใจ
       3.  การฝึกฝนความสามารถพิเศษ เป็นการฝึกฝนตนเองให้มีความสามารถที่เอื้อต่อการประกอบอาชีพต่างๆ เช่น สามารถขับรถยนต์ สามารถใช้คอมพิวเตอร์ สามารถพูดภาษาอังกฤษและภาษาประเทศเพื่อนบ้าน เป็นต้น


รูปที่ 5.1 การเตรียมตัวขณะกำลังศึกษา

2. การเตรียมตัวภายหลังจบการศึกษา
         หลังจากสำเร็จการศึกษา เราจำเป็นต้องศึกษาเพิ่มเติม เพื่อเตรียมความพร้อมสู่การประกอบอาชีพ มีวิธีการปฏิบัติดังนี้
        1. การศึกษาเพิ่มเติม โดยเฉพาะความรู้ที่จำเป็นในการประกอบอาชีพในยุคปัจจุบัน เช่น เข้ารับการอบรมคอมพิวเตอร์โปรแกรมต่างๆ อบรมภาษาต่างประเทศที่จำเป็น เป็นต้น
        2. การเตรียมตัวความรู้เรื่องงานที่จะทำ เป็นการเตรียมการเกี่ยวกับตำแหน่งงาน หน้าที่ความรับผิดชอบของงาน ความรู้ความสามารถที่จะใช้ในการทำงาน รวมถึงผลตอบแทนที่จะได้รับ
        3. การเตรียมความรู้ด้านตลาดแรงงาน เราต้องหาช่องทาง หาตำแหน่งงานที่สนใจ จากแหล่งต่างๆ เช่น จากหนังสือพิมพ์ สื่อสิ่งพิมพ์ต่างๆ ฯลฯ
3. การเตรียมตัวสมัครงาน
        การเตรียมตัวสมัครงาน เป็นการเตรียมความพร้อมทางด้านบุคลิกภาพ การเตรียมเอกสารและอุปกรณ์ต่างๆ ซึ่งมีวิธีการเตรียมดังนี้
       1. การเตรียมความพร้อมด้านบุคลิกภาพ ได้แก่ การฝึกปรับปรุงกิริยา มารยาท การพูด การเดิน รวมถึงการแต่งกาย
       2. การเตรียมเอกสารและอุปกรณ์ต่างๆ เช่น ใบรับรอง วุฒิการศึกษา บัตรประชาชน สำเนาทะเบียนบ้าน รูปถ่าย เป็นต้น

รูปที่ 5.2 การสมัครงาน

         ทักษะที่จำเป็นต่อการประกอบอาชีพ
           การประกอบอาชีพทุกชนิด ต้องมีความรู้ ความสามรถเฉพาะในอาชีพนั้นๆ และมีทักษะที่จำเป็นเพื่อที่จะสามรถประกอบอาชีพนั้นๆ ได้สำเร็จ ทักษะที่จำเป็นที่ควรพัฒนาตัวเองในการประกอบอาชีพมีดังนี้
1. ทักษะกระบวนการทำงาน
       ทักษะกระบวนการทำงาน เป็นการเรียนรู้กระบวนการทำงานและลงมือปฏิบัติงานด้วยตนเองโดยมุ่งเน้นการฝึกวิธีการทำงานอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้เกิดความเชี่ยวชาญในงานที่ทำ ทั้งการทำงานเป็นรายบุคคลและการทำงานเป็นทีม
2. ทักษะกระบวนการแก้ปัญหา
      ในการทำงานต้องประสบกับปญหา เราต้องหาทางจดการแก้ปัญหา เข้สใจปัญหา และคิดแก้ปัญหานั้นได้อย่างเด็ดขาดทันท่วงที โดยมีวิธีการแก้ปัญหาดังนี้
      1. การสังเกต
      2. การวิเคราะห์และแยกแยะปัญหา
      3. สร้างทางเลือกในการแก้ปัญหา
      4. ประเมินทางเลือกหรือวิธีในการแก้ปัญหา
3. ทักษะการทำงานร่วมกัน
     เราต้องพัฒนาตัวเองให้สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ โดยต้องเป็นบุคคลที่มีบุคลิกนิสัยยืดหยุ่น ประนีประนอม สามารถเข้ากับผู้อื่นได้ แลกเปลี่ยนข้อมูลกับผู้อื่นเสมอ มีความจริงใจ ไม่เอาเปรียบผู้อื่น
4. ทักษะการแสวงหาความรู้
    ในการทำงานทุกอย่าง เราจะต้องศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมตลอดเวลา เพราะว่าปัจจุบันวิทยาการต่างๆ ได้พัฒนาและเจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว โดยแสวงหาความรู้จากตำรา หนังสือพิมพ์ วารสาร โทรทัศน์ ฯลฯ
5. ทักษะการจัดการ
    ทักษะการจัดการ เป็นทักษะที่มีความจำเป็น โดยเฉพาะบุคคลที่เป็นผู้บริหาร ต้องมีความสามารถในการวางแผน จัดระบบงาน จัดระบบบุคคล มอบหมายงานหรือสั่งการ และการประเมินผลงานได้

แผนภาพที่ 5 การพัฒนาทักษะที่จำเป็นของตัวเองต่อการประกอบอาชีพ

           การสร้างทัศนคติที่ดีต่อการประกอบอาชีพ
         ทัศนคติที่ดีต่อการประกอบอาชีพ เป็นสิ่งที่สําคัญอยางยิ่งที่จะทําให้มนุษย์ดํารงชีวิตอย่างมีความสุขเนื่องจากชีวิตของมนุษย์ส่วนมากจะใช้เวลากบการประกอบอาชีพ ดังนั้นหากได้ทํางานที่ตนเองรัก ชอบและถูกกบบุคลิกลักษณะของตนก็จะทําให้เกิดการพัฒนางานอยางต่อเนื่อง ซึ่งวิธีสร้างทัศนคติที่ดีต่อการประกอบอาชีพมีแนวทางทําได้ เช่น 
1. จัดประสบการณ์ที่ดีเกี่ยวกับงาน
     โดยเข้าฝึกอบรม เพิ่มพัฒนาทักษะความรู้ ความสามารถอย่างต่อเนื่อง ตลอดเวลา
2. จัดสภาพแวดล้อมที่ดีในการทำงาน
     สภาพแวดล้อมที่ดี จำทำให้บรรยากาศของการทำงานมีความเป็นกันเอง อบอุ่น มีความกระตือรือร้น และสร้างสรรค์
3. การเป็นแบบอย่างที่ดี
    การประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดีเป็นการแสดงออกที่สอดคล้องกับวัฒนธรรมประเพณีอันดีงาม
4. การให้คำแนะนำหรือปรึกษาเกี่ยวกับงาน
     การให้คำแนะนำหรือปรึกษาเกี่ยวกับงาน เป็นการสร้างบรรยากาศให้เกิดความคุ้นเคยเป็นกันเอง และจะเกิดความรู้สึกที่เป็นมิตรต่อกั เข้าใจกัน รู้สึกอบอุ่น และเกิดความรู้สึกมั่นใจในการทำงานมากขึ้น
5. การใช้การส่งเสริมการทำงานเป็นทีม
    การทำงานเป็นทีม มีความสำคัญมากในการทำงานที่จะเกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล ดังนั้นเราต้องพยายามอาศัยความร่วมมือของสมาชิกเป็นอย่างดี

        จริยธรรมที่ผู้ประกอบอาชีพควรปฏิบัติ
          จริยธรรมในการประกอบอาชีพ หมายถึง กฎเกณฑ์ ข้อปฏิบัติในการประกอบอาชีพ เช่น ความซื่อสัตย์สุจริต ความเป็นธรรม ความเชื่อถือได้ ความไว้วางใจ ความมีวินัย เป็นต้น ซึ่งจริยธรรมต่างๆ เหล่านี้เราต้องนำมาใช้ในการประกอบอาชีพ และจริยธรรมที่ผู้ประกอบอาชีพควรปฏิบัติได้แก่
1. การมีวินัยในการประกอบอาชีพ
2. ความซื่อสัตย์สุจริต
3. ความรับผิดชอบในงานอาชีพ
4. การมีจริยธรรมต่อสิ่งแวดล้อม
5. ขยันหมั่นเพียร
6. ขยันหมั่นเพียร
7. ให้ข้อมูลข่าวสารอย่างถูกต้อง
8. ดำเนินธุรกิจถูกกฎหมาย
9. มีจรรยาบรรณต่ออาชีพ

    จรรยาบรรณที่ผู้ประกอบอาชีพควรปฏิบัติ
       เป็นหลักธรรมในการประกอบอาชีพต่างๆ ที่มีลักษณะเฉพาะแตกต่างกันไป ตามอาชีพผู้ที่ต้องการประสบความสำเร็จในอาชีพของตน  จึงควรศึกษา ทำความเข้าใจ และยึดมั่นปฏิบัติตามหลักธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพนั้นๆ ดังต่อไปนี้
1. จรรยาบรรณของนักการตลาด
      1. นักการตลาดต้องดำเนินงานด้วยความยุติธรรม
      2. นักการตลาดต้องดำเนินการตอบสนองตามความต้องการของสังคม
      3. นักการตลาดต้องดำเนินการภายใต้กรอบกฎหมาย
      4. นักการตลาดต้องร่วมรับผิดชอบต่อสังคม
      5. นักการตลาดต้องรับฟังความคิดเห็นของผู้บริโภค
2. จรรยาบรรณของนักธุรกิจ
     1. เกียรติสำคัญกว่าผลประโยชน์
     2. มีความสุจริตในการแจ้งคุณภาพสินค้า
     3. มีเมตตาต่อทุกคนที่ด้อยกว่าตน
     4. ร่วมมือกับรัฐบาลทุกอย่าง
     5. เฉลี่ยผลกำไรอย่างทั่วถึง
     6. ร่วมมือกับนักบริหารอื่น
     7. พึงปฏิบัติต่อลูกจ้างในฐานะร่วมงาน
     8. รับผิดชอบให้ผู้ใต้บังคับบัญชาทุกคน
     9. ส่งเสริมให้ผู้ใต้บังคับบัญชาหาความรู้เพิ่ม
    10. ส่งเสริมให้ผู้ใต้บังคับบัญชามีส่วนร่วม
    11. ส่งเสริมให้ผู้ใต้บังคับบัญชาออมทรัพย์และร่วมลงทุน
    12. ส่งเสริมให้ผู้ใต้บังคับบัญชามีความปลอดภัยในการทำงาน
3. จรรยาบรรณวิชาชีพครู
     ตามข้อบังคับคุรุสภาว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณของวิชาชีพ พ.ศ. 2548 กำหนดจรรยาบรรณครูเป็นแนวปฏิบัติ สรุปได้ดังนี้
    1. ต้องมีวินัยในตนเอง
    2. รัก ศรัทธา สุจริต
    3. เมตตา เอาใจใส่ ช่วยเหลือศิษย์
    4. ส่งเสริมให้เิกดการเรียนรู้ ทักษะ อย่างเต็มความสามารถ
    5. ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี
    6. ไม่กระทำคนเป็นปฏิปักษ์ต่อศิษย์
    7. จริงใจและเสมอภาคไม่ทุจริต
    8. สามัคคีในหมู่คณะ
    9. เป็นผู้นำทางเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม รักษาผลประโยน์ และยึดมั่นประชาธิปไตย
4. จรรยาบรรณวิชาชีพนักคอมพิวเตอร์
     1. จรรยาบรรณต่อตนเอง
          ยึดมั่นในความซื่อสัตย์สุจริต ปฏิบัติหน้าที่และดำรงชีวิตเหมาะสมตามหลักธรรมาภิบาลดังนี้
          (1) ประกอบวิชาชีพนักคอมพิวเตอร์ด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต มีความยุติธรรม ใฝ่หาความรู้ใหม่ๆ อยู่เสมอ
         (2) ผู้ประกอบวิชาชีพนักคอมพิวเตอร์จะมีความวิริยะอุสาหะในการปฏิบัติงานเพื่อให้บรรลุความสำเร็จของงานสูงสุด
     2. จรรยาบรรณต่อผู้ร่วมงาน
        ตั้งมั่นในความถูกต้อง มีเหตุผล และรู้จักสามัคคี ดังนี้
        (1) ไม่คัดลอกผลงานคนอื่นมาเป็นผลงานของตัวเอง เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของสิทธิเดิมเป็นลายลักษณ์อักษร
        (2) ให้ความยกย่องและนับถือผู้ร่วมงานและผู้ร่วมอาชีพทุกระดับที่มีความรู้ความสามารถและความประพฤติดี
        (3) รักษาและแสวงหามิตรภาพระหว่างผู้ร่วมงานและผู้ร่วมอาชีพ
    3. จรรยาบรรณต่อวิชาชีพ
        ไม่ประพฤติหรือกระทำการใดๆ อันเป็นเหตุให้เสื่อมเสียเกียรติในวิชาชีพแห่งตน ดังนี้
        (1) ใช้ความรู้ความสามารถในการสร้างสรรค์ ไม่ใช่ในทางทำลายหรือกลั่นแกล้งผู้อื่น
        (2) ไม่แอบอ้าง อวดอ้าง ดูหมิ่นต่อบุคคลอื่นๆ หรือกลุ่มวิชาชีพอื่น
        (3) ให้ความร่วมมือในการปฏิบัติหน้าที่เพื่อส่งเสริมเกียรติคุณของวิชาชีพ
   4. จรรยาบรรณต่อสังคม
        (1) ไม่เรียกรับหรือยอมรับทรัพย์สินหรือผลประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่งสำหรับตนเองหรือผู้อื่น
        (2) ไม่ใช้อำนาจหน้าที่โดยไม่ชอบธรรมในการเอื้อให้ตนเองหรือผู้อื่นได้รับประโยชน์หรือเสียประโยชน์
        (3) ไม่ใช้ความรู้ความสามารถไปในทางล่อลวง หลอกลวง จนเป็นเหตุให้เกิดผลเสียต่อผู้อื่น
  5. จรรยาบรรณต่อผู้รับบริการ
      เคารพในสิทธิเสรีภาพและความเสมอภาคของผู้อื่น ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความโปร่งใสเป็นธรรม ดังนี้
        (1) รับฟังความคิดเห็นแลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างบุคคล เครือข่าย และองค์การที่เกี่ยวข้อง
        (2) เปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมและสามารถตรวจสอบการปฏิบัติงานได้
5. จรรยาบรรณวิชาชีพผู้สอบบัญชี
     1. ไม่รับตรวจสอบและรับรองบัญชีในกิจการที่ตนขาดความเป็นอิสระ
     2. ไม่รับตรวจและรับรองบัญชีในกิจการที่ตนเองขาดความเป็นกลางโดยมีผลประโยชน์ หรือตำปหน่งที่เกี่ยวข้องกับกิจการนั้น
    3. ปฏิบัติงานตรวจสอบ และรับรองบัญชีด้วยความเที่ยงธรรมและความซื่อสัตย์สุจริต
    4. ไม่ปกปิดข้อเท็จจริง หรือบิดเบือนความจริงกันเป็นสาระสำคัญของงบการเงินที่ตนลงลายมือชื่อรับรองไว้ในรายงาน
   5. ไม่เป็นส่วนผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการ ซื้อ ขาย ออก หรือใช้ใบกำกับภาษีที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
   6. ไม่เป็นส่วนที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการลงบัญชีหรือการทำเอกสารประกอบการลงบัญชี
   7. ไม่เป็นส่วนที่มีส่วนเกี่ยวข้องหรือมีส่วนร่วมในการตรวจสอบและรับรองบัญชีของกิจการใด
   8. ไม่รับรองบัญชีที่ตนเป็นผู้จัดทำขึ้นเองหรือช่วยเหลือ
   9. ต้องปฏิบัติงานด้วยความรู้ความสามารถของวิชาชีพ
  10. ไม่ตรวจสอบและรับรองบัญชีในกิจการที่เกินความรู้ความสามารถของตนที่จะปฏิบัติได้
  11. ไม่ลงลายมือชื่อรับรองในรายการของกิจการที่ตนมิได้ปฏิบัติงานตรวจสอบหรือควบคุมการปฏิบัติงานตรวจสอบ
  12. สอดส่องใช้ความรู้ความระมัดระวังในการตรวจสอบและรับรองบัญชีเยี่ยงผู้ประกอบวิชาชีพโดยทั่วไป
  13. ไม่ยินยอมให้ผู้อื่นอ้างว่าตนเป็นผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชีในกิจการโดยตนมิได้ปฏิบัติงาน
  14. ไม่เปิดเผยความลับกิจการของผู้เสียภาษีหรือผู้อื่นที่เกี่ยวข้องโดยนำออกแจ้งแก่ผู้ใด หรือให้ทราบโดยวิธีใด
  15. ไม่ละทิ้งการปฏิบัติงานตรวจสอบและรับรองบัญชีที่รับไว้แล้วโดยไม่มีเหตุอันสมควร
  16. ไม่แย่งงานตรวจสอบและรับรองบัญชีจากผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชีอื่น
  17. ไม่ทำการตรวจสอบและรับรองบัญชีเกินกว่าที่ได้รับมอบหมายจากผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชีอื่น
  18. ไม่กระทำการใดๆ อันอาจนำมาซึ่งความเสื่อมเสียเกียรติแห่งวิชาชีพในส่วนที่เกี่ยวกับกฏหมายภาษีอากร
  19. ไม่โฆษณาหรือยินยอมให้ผู้อื่นโฆษณาด้วยประการใดๆ เซึ่งการประกอบวิชาชีพอันแสดงให้เห็นว่าจะช่วยเหลือให้ภาษีน้อยกว่าความเป็นจริง
  20. ไม่ให้รับรองว่าทรัพย์สินหรือประโยชน์ใดๆ เพื่อเป็นการจูงใจให้บุคคลอื่นแนะนำหรือจัดหางานตรวจสอบและรับรองบัญชีมาให้ตนทำ
  21. ไม่เรียกหรือรับทรัพย์สินหรือประโยชน์ใจากบุคคลใดในเมื่อบุคคลนั้นได้รับงานเพราะการแนะนำหรือการจดหางานของตน
  22. ไม่กำหนดค่าธรรมเนียมหรือค่าตอบแทนโดยถือเอาอัตราสูงต่ำตามยอดเงินหรือของมูลค่าทรัพย์สินใดที่ตนตรวจสอบ
6. จรรยาบรรณวิศวกร  ของสมาคมวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ มี 8 ข้อ หลักๆ ดังนี้
           จรรยาบรรณ ข้อ 1 วิศวกรต้องรับผิดชอบ และให้ความสำคัญเป็นอันดับแรก ต่อสวัสดิภาพ สุขภาพ ความปลอดภัยของสาธารณชน และ สิ่งแวดล้อม เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของจรรยาบรรณข้อนี้ วิศวกรต้อง
         1. หลีกเลี่ยงไม่รับงานที่จะก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรม และความขัดแย้งกันระหว่างผลประโยชน์ ของผู้ว่าจ้างกับผลประโยชน์ของสาธารณชน
        2. ทำงานให้สอดคล้องกับหลักปฏิบัติในการประกอบวิชาชีพวิศวกรรมที่เป็นที่ยอมรับโดยให้ระมัดระวังในเรื่องเกี่ยวกับความปลอดภัยของชีวิต และสุขภาพของคนงาน และสาธารณชน รวมถึงทรัพย์สินซึ่งอาจจะได้รับผลกระทบจากงานที่อยู่ในความรับผิดชอบของตน
       3. พยายามป้องกันความเสียหายที่จะเกิดแก่สาธารณชน โดยการแจ้งต่อเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องให้ทราบถึงสถานการณ์อันอาจจะก่อให้เกิดอันตรายแก่สาธารณชนขึ้นได้
      4. ขจัดการเผยแพร่ข่าวสารอันเป็นเท็จ หรือข่าวสารที่ขยายเกินความจริง หรือไม่ยุติธรรม
      5. มีส่วนร่วมในการอภิปรายในที่สาธารณะ เกี่ยวกับเรื่องทางวิศวกรรมในขอบเขตที่ตนเชี่ยวชาญ ทั้งนี้โดยพิจารณาแล้วเห็นว่าการกระทำเช่นนี้จะเป็นการส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีของสาธารณชน
          จรรยาบรรณ ข้อ 2 วิศวกรต้องให้ข้อมูล และแสดงความคิดเห็นตามหลักวิชาการ ตามที่ตนทราบอย่างถ่องแท้แก่สาธารณชนด้วยความสัตย์จริงเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของจรรยาบรรณข้อนี้ วิศวกรต้อง
      1. แถลงถึงความคิดเห็นทางวิศวกรรมต่อสาธารณชน เฉพาะเมื่อตนได้ทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเรื่องที่แถลงนั้นอย่างถ่องแท้แล้ว
      2. ผู้ที่เป็นพยานในศาลต้องให้ถ้อยคำต่อศาลด้วยข้อมูลที่ถูกต้อง และเฉพาะที่ได้รู้ชัดแจ้งเท่านั้น แต่จรรยาบรรณข้อนี้ไม่ได้ห้ามการตอบข้อซักถามที่ต้องใช้การคาดคะเน และพินิจพิจารณาโดยอาศัยความรู้ และประสบการณ์ของตนเอง และความรู้ที่เกี่ยวข้องในวงกว้าง
      3. เปิดเผยถึงผลประโยชน์ใดๆ ที่ตนเกี่ยวข้อง ที่อาจจะมีผลกระทบต่อดุลยพินิจของตนในเรื่องทางเทคนิคที่ตนกำลังแถลง หรือประจักษ์พยานอยู่
       จรรยาบรรณ ข้อ 3 วิศวกรต้องดำรงและส่งเสริมความซื่อสัตย์สุจริต เกียรติยศ และศักดิ์ศรีของวิชาชีพวิศวกรรม เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของจรรยาบรรณข้อนี้ วิศวกรต้อง
     1. ปฏิบัติงานที่ได้รับทำ อย่างถูกต้องตามหลักปฏิบัติและวิชาการของวิชาชีพ โดยเคร่งครัด
     2. ประกอบวิชาชีพด้วยความซื่อสัตย์สุจริต ไม่ใช้วิชาชีพในทางที่ผิดกฎหมาย
     3. หลีกเลี่ยงการกระทำใดๆ ที่จะนำความเสื่อมเสียมาสู่วิชาชีพวิศวกรรม
     4. ไม่โฆษณาผลงานของตนเองในลักษณะที่เป็นการโอ้อวด
     5. ไม่พัวพันเกี่ยวข้องกับธุรกิจหรือประกอบการใดๆ ซึ่งตนรู้อยู่ว่าเป็นการหลอกลวงหรือไม่สุจริต
     6. ไม่อาศัยการคบหาสมาคมกับบุคคลอื่นๆ หรือหน่วยงานอื่นๆ เพื่อปกปิดการกระทำที่ผิดจรรยาบรรณ
     7. ไม่ประกอบวิชาชีพร่วมกับวิศวกรที่ปฏิบัติตนผิดจรรยาบรรณ และต้องรายงานต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ เมื่อพบว่ามีวิศวกรกระทำผิดจรรยาบรรณ
        จรรยาบรรณ ข้อ 4 วิศวกรต้องปฏิบัติงานเฉพาะที่ตนมีความรู้ความสามารถเท่านั้น เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของจรรยาบรรณข้อนี้ วิศวกรต้อง
     1. ไม่ประกอบอาชีพวิศวกรรมเกินความรู้ความสามารถที่ตนเองจะทำได้
     2. ในกรณีที่งานที่ได้รับมอบหมายมานั้น ต้องการความรู้ความสามารถ หรือประสบการณ์อย่างอื่น นอกเหนือจากที่ตนเชี่ยวชาญ วิศวกรต้องแจ้งให้ผู้ว่าจ้าง หรือลูกค้าของตนทราบอย่างตรงไปตรงมา อีกทั้งแนะนำให้รู้จักผู้ที่เหมาะสมกับงานนั้น
       จรรยาบรรณ ข้อ 5 วิศวกรต้องสร้างชื่อเสียงในวิชาชีพจากคุณค่าของงาน และต้องไม่แข่งขันกันอย่างไม่ยุติธรรม เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของจรรยาบรรณข้อนี้ วิศวกรต้อง
      1. ไม่ใช้ข้อได้เปรียบหรือตำแหน่งอันมีอภิสิทธิ์ ไปแย่งงานจากผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมคนอื่นๆ
      2. ไม่แอบอ้างผลงานของวิศวกรผู้อื่นมาเป็นของตน โดยยึดหลักไว้เสมอว่างานใดที่วิศวกรผู้ใดผู้หนึ่งทำไว้จะต้องให้เกียรติถือว่าเป็นผลงานของวิศวกรผู้นั้น
     3. ไม่กระทำการใดๆ อันอาจนำมาซึ่งความเสื่อมเสียต่อชื่อเสียง ความก้าวหน้า หรือการปฏิบัติวิชาชีพของวิศวกรอื่น
     4. ไม่ปลอมแปลงและไม่ให้ข้อมูลที่ผิดพลาดเกี่ยวกับคุณสมบัติ ประสบการณ์ หรือภาระความรับผิดชอบที่ผ่านมาของตน
     5. ไม่รับทำงานหรือตรวจสอบงานชิ้นเดียวกันกับผู้ประกอบอาชพวิศวกรรมคนอื่นทำอยู่แล้ว เว้นแต่เป็นการปฏิบัติหน้าที่ หรือได้แจ้งให้ผู้ประกอบการวิชาชีพวิศวกรรมนั้นทราบล่วงหน้าแล้ว
    6. ไม่รากแซงงานของวิศวกรอื่น เมื่อทราบว่างานนั้นมีวิศวกรอื่นทำงานนั้นอยู่แล้ว ยกเว้นเมื่อผู้ว่าจ้างได้บแกเลิกการจ้างกับวิศวกรผู้นั้นเป็นลายลักษณ์อักษรเรียบร้อยแล้ว
    7. ไม่แข่งขันกับวิศวกรอื่นด้วยการตัดราคาค่าจ้างของตนให้ต่ำกว่า โดยเฉพาะเมื่อทราบอัตราค่าจ้างของผู้นั้นแล้ว
    8. ไม่ใช้อิทธิพลใดๆ ในการแข่งขันกับวิศวกรอื่น เพื่อให้ได้มาซึ่งงานนั้น
    9. ไม่เสนอสิ่งตอบแทนใดๆ ทั้งโดยตรงและโดยอ้อม เพื่อให้ได้งานมาทำ
   10. ไม่วิพากษ์วิจารณ์งานของวิศวกรอื่นต่อสาธารณะ เว้นแต่จะเป็นการปฏิบัติหน้าที่
   11. พึงรับงานจากผู้ว่าจ้าง หรือลูกค้า โดยคำนึงถึงความเป็นอิสระเชิงวิชาชีพเป็นสำคัญ
          จรรยาบรรณ ข้อ 6 วิศวกรต้องรับผิดชอบต่องานและผลงานในวิชาชีพของตน
เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของจรรยาบรรณข้อนี้ วิศวกรต้อง
    1. คำนึงอยู่เสมอว่างานทุกอย่างที่ทำไปนั้น ตนต้องรับผิดชอบตลอดอายุการใช้งานตามวัตถุประสงค์การใช้งานเดิม
    2. คำนึงอยู่เสมอว่าผลงานที่ตนจะต้องรับผิดชอบนั้น อาจจะได้รับผลกระทบจากภัยธรรมชาติ และสิ่งที่คาดไม่ถึงในอนาคต
    3. ติดตามผลงานจากการออกแบบ หรือการให้คำปรึกษาของตน ตลอดระยะเวลาที่ผลงานั้นยังมีการใช้งานอยู่ หากทราบว่ามีข้อบกพร่องใดๆ อันอาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้ว่าจ้าง หรือลูกค้า หรือแก่สาธารณชน วิศวกรต้องเร่งรัดจัดการเพื่อให้มีการแก้ไข โดยไม่ต้องให้เจ้าของงานทักท้วงก่อน
          จรรยาบรรณ ข้อ 7 วิศวกรต้องใช้ความรู้และความชำนาญในงานวิชาชีพอย่างซื่อตรง เพื่อผลประโยชน์ของผู้ว่าจ้างหรือลูกค้า ซึ่งตนปฏิบัติงานให้เสมือนเป็นตัวแทนที่ซื่อตรงหรือเป็นผู้ที่ได้รับความไว้วางใจ เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของจรรยาบรรณข้อนี้ วิศวกรต้อง
      1. ซื่อตรงต่อผู้ว่าจ้างหรือลูกค้า เมื่อปฏิบัติหน้าที่ในฐานะที่ตนเป็นตัวแทนหรือผู้ได้รับความไว้วางใจจากบุคคลเหล่านั้น
      2. แสดงสถานะของตนให้ผู้ว่าจ้างทราบก่อนที่จะรับดำเนินการ ในกรณีที่ได้รับแต่งตั้งให้ตัดสินงานหรือสิ่งอื่นที่ตนอาจจะมีผลประโยชน์เกี่ยวข้องอยู่ด้วย
     3. รับผิดชอบในความเพียงพอทางเทคนิคของงานวิศวกรรม โดยแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนเป็นลายลักษณ์อักษร ถึงผลที่จะเกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงเนื่องจากผู้มีอำนาจเหนือกว่ามีความเห็นเป็นอย่างอื่น
     4. ไม่เปิดเผยความลับของงานที่ตนรับทำ เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากผู้ว่าจ้าง
     5. ไม่มีส่วนได้ส่วนเสียในฐานะเป็นผู้รับเหมาหรือร่วมทุน ในการประกวดราคางานซึ่งตนเป็นวิศวกรผู้รับผิดชอบ นอกจากจะได้รับอนุญาตจากผู้ว่าจ้าง
    6. ไม่รับค่าตอบแทนเป็นเงินหรือสิ่งอื่นใด จากผู้ว่าจ้างหลายรายในการให้บริการงานชิ้นเดียวกัน นอกจากจะได้รับอนุญาตจากผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายแล้ว
    7. ไม่เรียก รับ หรือยอกรับทรัพย์สิน ของกำนัล หรือผลประโยชน์ใดๆ สำหรับตนหรือพวกพ้องของตนจากผู้รับเหมา ตัวแทนของผู้รับเหมา ผู้ขายวัสดุอุปกรณ์ หรือบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้องกับงานที่ตนรับผิดชอบอยู่
   8. แนะนำผู้ว่าจ้างของตนให้จ้างผู้เชี่ยวชาญมาดำเนินการสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ว่าจ้างและให้ความร่วมมืออย่างเต็มที่
   9. ต้องเสนอผลการศึกษาโครงการตามความเป็นจริงทุกประการ โดยไม่มีการบิดเบือนใดๆ
  10. แจ้งให้ผู้ว่าจ้างของตนทราบทันทีถึงกิจกรรมใดๆ ซึ่งตนมีส่วนได้ส่วนเสียและอาจจะเป็นคู่แข่งหรือมีผลกระทบต่อธุรกิจของผู้ว่าจ้าง และต้องไม่ยอมให้ผลประโยชน์ของธุรกิจใดๆ มีอิทธิพลเหนือการตัดสินใจเกี่ยวกับงานที่ตนทำอยู่
          จรรยาบรรณ ข้อ 8 วิศวกรพึงพัฒนาและเผยแพร่ความรู้ทางวิชาชีพของตนตลอดเวลาที่ประกอบวิชาชีพวิศวกรรม และให้ความสำคัญในการช่วยเหลือส่งเสริมเพื่อเพิ่มพูนความรู้และประสบการณ์ ให้แก่วิศวกรในความดูแลของตนอย่างจริงจัง เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของจรรยาบรรณข้อนี้ วิศวกรต้อง
    1. พัฒนาตนเองในด้านความรู้และความก้าวหน้าในวิชาชีพวิศวกรรม
    2. เผยแพร่ความรู้วิชาชีพวิศวกรรม
    3. ให้ความร่วมมือในการส่งเสริมวิชาชีพวิศวกรรม โดยการแลกเปลี่ยนข่าวสารความรู้และประสบการณ์กับวิศวกรอื่น
    4. สนับสนุนให้ลูกจ้างหรือผู้ใต้บังคับบัญชาในงานวิชาชีพของตนได้ศึกษาต่อ
    5. สนับสนุนนิสิตนักศึกษา ในการเพิ่มพูนความรู้ด้านวิชาชีพวิศวกรรม
    6. สนับสนุนโครงการและกิจการด้านวิศวกรรมขององค์กรวิชาชีพวิศวกรรม และสถาบันการศึกษาต่างๆ
7. จรรยาบรรณวิชาชีพสถาปัตยกรรม
    จรรยาบรรณวิชาชีพสถาปัตยกรรม เป็นกฎหมายแห่งพระราชบัญญัติ วิชาชีพสถาปัตยกรรม พ.ศ. 2508 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยออกกฎกระทรวงไว้เป็นแนวปฏิบัติดังนี้
       1. ปฏิบัติงานด้วยความซื่อสัตย์สุจริตและไม่ละทิ้งงานที่ได้รับมอบหมายโดยไม่มีเหตุอันสมควร
       2. ไม่กระทำการใดๆ อันอาจทำให้เสื่อมเสียเกียรติแห่งวิชาชีพ
       3. ไม่โฆษณาเสื่อมเสียหรือให้ผู้อื่นโฆษณาวิชาชีพของตน
       4. ไม่รับดำเนินงานโดยใช้แบบอย่างเดียวกันกับผู้ว่าจ้างรายอื่น
       5. ไม่รับตรวจสอบงานที่ผู้ประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรมอื่นทำ เว้นแต่เป็นการตรวจสอบตามหน้าที่
       6. ไม่รับงานชิ้นเียวกันกับผู้ประกอบอาชีพสถาปัตยกรรมอื่นทำอยู่
       7. ไม่แสวงหางานโดยการแบ่งปันกับผู้ประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรมควบคุมโดยลดผลประโยชน์
       8. ไม่ใช้ตำแหน่งหน้าที่หรืออิทธิพลให้ประโยชน์แก่ผู้อื่นเพื่อให้ได้รังงานโดยมิชอบ
       9. ไม่เปิดเผยความลับของงานที่ตนได้รับนำมาใช้
      10. ไม่กระทำการใดๆ โดยจงใจให้เป็นที่เสื่อมเสียหรืองานของผู้ควบคุมอื่น
      11. ไม่รับทรัพย์สินหรือประโยชน์โดยมิชอบ
8. จรรยาบรรณวิชาชีพนักกฏหมาย
      จรรยาบรรณหรือแนวปฏิบัติที่ดีงามของตุลากร อัยการ และทนายความ มีดังนี้
      1. มนุษย์ทุกคนมีสิทธิ์ในเรื่องยุติธรรมเท่าเทียมกัน
      2. ความยุติธรรมอยู่เหนืออามิสสินจ้างหรือผลประโยชน์ใดๆ
      3. นักกฏหมายทุกคนเป็นที่พึ่งของประชาชนทุกคนในด้านความยุติธรรม
      4. กฎหมายเป็นเครื่องมือของความยุติธรรมมิใช่มาตรการความยุติธรรม
      5. งานด้านกฎหมายถือเป็นงานอาชีพมิใช่ธุรกิจ
      6. ความยุติธรรมเป็นกลางสำหรับทุกคน
      7. มนุษย์มีค่าเหนือกว่าวัสดุใดๆ
      8. พึงขวนขวายหาความรู้ให้ทันเหตุการณ์เสมอ
      9. ไม่รีบร้อนตัดสินใจโดยไม่จำเป็น
     10. งดอบายมุขทุกประการ
     11. รักเกียรติยิ่งกว่าทรัพย์สินใดๆ
     12. ไม่รับเหมาก่อสร้าง
9. จรรยาบรรณของแพทย์
     เป็นกรอบการประพฤติของแพทย์ในภาพรวมที่แพทย์ทุกคนจะต้องปฏิบัติและยึดถือเพื่อเกียรติและศักดิ์ศรีของวิชาชีพ มีดังนี้
    1. พึงว่ามีเกียรติมีศักดิ์ศรีอยู่เหนือผลประโยชน์
    2. คนมีค่าเหนือวัตถุ
    3. ไม่ภือว่าผู้ป่วยเป็นโอกาสให้ได้ทดลอง
    4. รักษาความลับของผู้ป่วย
    5. พึงร่วมมือกับแพทย์เพื่อหาวิธีรักษาพยาบาลที่มีประสิทธิภาพ
    6. ให้ยารักษาที่เชื่อว่ามีประโยชน์ต่อผู้ป่วย
    7. รักษาพยาบาลโดยไม่มุ่งเน้นธุรกิจ
    8. หาความรู้ตลอดเวลา
    9. รักษาพยาบาลทุกคนไม่เลือกชาติ ศาสนา เชื้อชาติ วรรณะ ฐานะ
   10. การต่ออายุสุขภาพเป็นการบริการให้เหนือสิ่งอื่นใด
   11. แพทย์มีสิทธิเรียกร้องตามสิทธิอันควรได้แต่ไม่ใช่ถือโอกาสเลือกใช้สถานการณ์ต่อรอง
   12. พึงงดเว้นอบายมุขทุกอย่าง

      สรุปสาระสำคัญ

       การเตรียมตัวขณะกำลังศึกษา มีการเตรียมตัวขณะกำลังศึกษาการเตรียมตัวภายหลังจบการศึกษา และการเตรียมตัวสมัครงาน
        การพัฒนาทักษะที่จำเป็นเพื่อที่จะสามรถประกอบอาชีพนั้นๆ ได้รำเร็จ ทักษะที่จำเป็นที่ควรพัฒนาตัวเองในการประกอบอาชีพ ได้แก่
ทักษะกระบวนการทำงาน ทักษะกระบวนการแก้ปัญหา ทักษะการทำงานร่วมกัน ทักษะการแสวงกาความรู้ และทักษะการจัดการ
       วิธีสร้างทัศนคติที่ดีต่อ การประกอบอาชีพ ทำได้โดย 
1. จัดประสบการณ์ที่ดีเกี่ยวกับงาน    
2. จัดสภาพแวดล้อมที่ดีในการทำงาน   
3. การเป็นแบบอย่างที่ดี 
4. การให้คำแนะนำหรือปรึกษาเกี่ยวกับงาน 
5. การใช้การส่งเสริมการทำงานเป็นทีม
      จริยธรรมในการประกอบอาชีพ หมายถึง กฎเกณฑ์ ข้อปฏิบัติในการประกอบอาชีพ เช่น ความซื่อสัตย์สุจริต ความเป็นธรรม ความเชื่อถือได้ ความไว้วางใจ ความมีวินัย เป็นต้น 
       จรรยาบรรณ เป็นข้อความที่กำหนดเป็นแนวทางปฏิบัติของอาชีพโดยเขียนไว้เป็นลายลักษณ์อักษร ที่ควรปฏิบัติตาม







   
       





  

                   


ไม่มีความคิดเห็น: